วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

กฎหมายและจริยธรรมการสื่อสารมวลชน


    
  การกระทำของบุคคลใดที่ถือว่าเป็นการละเมิดผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ก็ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดสิทธิของผู้อื่นและจะต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายไดบัญญัติไว้นะคะ ดังนั้นเราไปเรียนรู้กันเลย

กฎหมายว่าด้วยการกระทำละเมิด

การกระทำละเมิด
n ความรับผิดกรณีละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีด้วยกัน 3 หมวด ตั้งแต่มาตรา 420 ถึงมาตรา 452

ความผิดฐานละเมิด
n ความผิดฐานละเมิดที่สื่อมวลชนถูกฟ้องร้องดำเนินคดีเป็นประจำ คือ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และการละเมิดอำนาจศาล

n การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
          การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หมายถึงการที่บุคคลใช้เสรีภาพของตนมากเกินไปหรือใช้สิทธิของตนเกินขอบเขต จนไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น คือทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ได้รับผลกระทบจากการกระทำนั้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยเจตนา จงใจ หรือประมาทเลินเล่อก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 28 บัญญัติไว้ว่า 
              
                  บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนเท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
                  บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ในศาลได้
    

ความผิดฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
n มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
n ข้อฟ้องร้องที่สื่อมวลชนพบมากที่สุดคือ ข้อหาละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเกี่ยวกับความผิดที่ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายต่อสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หมายถึง สิทธิที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง เช่น สิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัว สิทธิในครอบครัว สิทธิในเกียรติยศชื่อเสียง   
                     
องค์ประกอบความผิด
n กระทำการโดยผิดกฎหมาย
n เป็นการล่วงละเมิดในสิทธิของผู้อื่น ตามที่กฎหมายรับรอง
n กระทำการโดยจงใจ
n เป็นการกระทำโดยเจตนา
n หรือประมาทเลินเล่อ
n เป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังอย่างเพียงพอ
n  นอกจากนี้ กฎหมายยังได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ในมาตรา 421 ว่า
      การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดการเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย

n มาตรา 421 นี้ บัญญัติขึ้นมาเพื่อป้องกันการแก้ตัวของบุคคล โดยเฉพาะสื่อมวลชนที่มักจะอ้างสิทธิและเสรีภาพที่ตนเองมีอยู่ โดยเฉพาะการอ้างสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 395859 หรือการอ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ตลอดจนการอ้างสิทธิและเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ที่ต้องนำเสนอข้อมูลหรือเปิดเผยความจริงต่อสาธารณชน แต่การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนก็ต้องมีเสรีภาพอยู่ในขอบเขตเช่นเดียวกัน คือต้องไม่ไปล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น จนทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย
n การใช้สิทธิแห่งตนทุกคนต้องทำการโดยสุจริต
n การพิจารณาว่าการใช้สิทธิเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือไม่ มีดังนี้
n ทำเกินกว่าสิทธิหรือไม่
n ถ้าไม่เกิน ได้ใช้สิทธิของตนโดยเจตนากลั่นแกล้งหรือไม่
n เช่น การเปิดโปงสถาบันการเงิน A เรื่องขาดสภาพคล่อง เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปตรวจสอบและควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน แม้สถาบันการเงินนั้นจะเสียหาย ก็ไม่ถือเป็นการละเมิด

การละเมิดอันเกิดจากการหมิ่นประมาท
มาตรา 423 ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่การทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายต่าง ๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้                      ผู้ใดส่งข่าวสาสน์อันตนมิได้รู้ว่าเป็นความจริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสาสน์เช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
n  ข้อความตามมาตรา 423 นี้ มีความหมายใกล้เคียงกับความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ต่างกันเพียงการรับผิดซึ่งต้องรับผิดโดยการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งมิได้ระบุจำนวนไว้ แต่ความผิดทางอาญานั้นโทษมีทั้งการจำคุกและการปรับ ดั้งนั้น ผู้เสียหายจึงสามารถฟ้องได้ทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบมักจะฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งเป็นจำนวนเงินหลายล้านบาท
          สื่อมวลชนไม่มีสิทธิ์จะแก้ตัวว่าข้อความหรือภาพที่ตนได้นำเสนอไปนั้น กระทำไปเพราะความไม่รู้ เช่น แหล่งข่าวอาจให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงแก่ผู้สื่อข่าวเพื่อหวังทำลายชื่อเสียงของบุคคลนั้น ๆ สื่อมวลชนก็จะต้องร่วมรับผิดกับแหล่งข่าวคนนั้นด้วย จะแก้ตัวว่าไม่รู้ว่าสิ่งที่นำเสนอไปนั้นเป็นเรื่องเท็จไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้จะพบว่าเวลาที่เกิดการฟ้องร้องขึ้น ผู้เสียหายหรือโจทก์มักจะฟ้องแหล่งข่าวเป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องสื่อมวลชนเป็นจำเลยที่ 2 หรือ 3 แล้วแต่กรณี
n ไขข่าว หมายถึง พูดตามคนอื่นที่ได้ยินมา
n การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ให้หมายความรวมถึง การนำเอกสารหรือสิ่งที่ปรากฏด้วยตัวอักษร สิ่งที่กระจายเสียงมาเผยแพร่ต่อไปให้คนอื่นรู้
n ความเสียหายตามมาตรานี้ มี 2 กรณีคือ
n ความเสียหายต่อสิทธิในชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ
n ความเสียหายต่อสิทธิในทางทำมาหาได้หรือทางเจริญโดยประการอื่น

n มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิด
n มาตรานี้ ถือเป็นการรับผิดจากการละเมิด ซึ่งศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าจะให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์อย่างไร ซึ่งค่าสินไหมทดแทนนั้นอาจคำนวณเป็นเงินได้ เช่น การชดใช้เป็นราคาทรัพย์สินที่เสียหาย และบางกรณีก็ไม่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ โดยเฉพาะความเสียหายต่อชื่อเสียง เกียรติยศ แต่ก็อาจต้องชดใช้เป็นจำนวนเงินเช่นกัน ซึ่งเราจะพบอยู่เสมอว่าผู้เสียหายจากการละเมิดมักจะเรียกร้องค่าเสียหายเงินเป็นจำนวนเงินแตกต่างกันไป บางรายเรียกร้องค่าเสียหายนับพันล้านบาท ซึ่งค่าสินไหมทดแทนนี้ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าจะต้องชดใช้อย่างไร หรือชดใช้เป็นจำนวนเงินเท่าใด  

n มาตรา 447 บุคคลใดทำให้เขาต้องเสียหายแก่ชื่อเสียง เมื่อผู้ต้องเสียหายร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นจัดการตามสมควร เพื่อทำให้ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีแทนให้ใช้ค่าเสียหายด้วยก็ได้
n สำหรับกรณีละเมิดโดยการกล่าวหรือไขข่าวที่ไม่เป็นความจริง ตามมาตรา 423 ผู้เสียหายอาจร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ทำการละเมิดชดเชยความเสียหายโดยการทำให้ชื่อเสียงกลับคืนมาด้วยวิธีอื่น ๆ นอกเหนือจากการชดใช้ด้วยจำนวนเงินแล้วก็ได้ เช่น ให้ลงข้อความขอขมาทางหน้าหนังสือพิมพ์ หรือลงประกาศด้วยวิธีการอื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนรู้ความจริง ดังนั้น ผู้เสียหายอาจให้ผู้ละเมิดชดใช้ค่าสินไหม หรือบรรเทาความเสียหายให้ชื่อเสียงกลับมาด้วยวิธีอื่น ๆ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรือจะให้ทั้งชดใช้ค่าสินไหมและกระทำโดยวิธีอื่น ๆ เพื่อให้ชื่อเสียงกลับมาด้วยก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาล

n มาตรา 448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่ง นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด
n หมายความว่า หากจะมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจะต้องกระทำภายในหนึ่งปี นับแต่ผู้เสียหายได้รู้ว่ามีการละเมิดเกิดขึ้น เช่น หนังสือพิมพ์ ก ฉบับวันที่ 1 มกราคม 2548 ได้ทำการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของ นาย ข โดยนำภาพนู้ดที่นาย ข ถ่ายไว้ดูเล่นไปตีพิมพ์ลงหน้าหนึ่งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนาย ข แต่ นาย ข เพิ่งจะมาเห็นภาพดังกล่าวเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 จึงได้นำไปฟ้องเรียกค่าเสียหาย ดังนั้น คดีนี้จึงยังไม่ขาดอายุความถึงแม้เวลาจะล่วงเลยมาปีกว่าก็ตาม เพราะนาย ข เพิ่งจะได้เห็นภาพของตนเองลงหนังสือพิมพ์ แต่ถ้ามีหลักฐานว่านาย ข ได้เห็นภาพของตนแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 แต่ไม่ฟ้องร้อง จนปล่อยให้เวลาผ่านมาถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 จึงจะนำมาฟ้องร้อง ก็ถือว่าขาดอายุความ เพราะเกินหนึ่งปีไปแล้ว
n นอกจากนี้  เพื่อป้องกันข้อแก้ตัวของผู้เสียหายว่าได้รับรู้ถึงการละเมิดเมื่อใดกันแน่ และการใช้เวลาสืบหาพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อให้รู้ตัวผู้ทำการละเมิด กฎหมายจึงกำหนดให้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายภายในสิบปี นับแต่วันทำละเมิด ดังนั้น หากหนังสือพิมพ์ ก ได้ละเมิดนาย ข เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548 คดีนี้จะขาดอายุความวันที่ 1 มกราคม 2558 คือนาย ข ต้องดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ ให้เสร็จสิ้นภายในช่วงเวลาระหว่าง 1 มกราคม 2548 - 31 ธันวาคม 2558
n สำหรับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่พบมากที่สุดในสื่อมวลชน โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ ได้แก่ การนำภาพนู้ดหรือภาพลับเฉพาะของบุคคลที่มีชื่อเสียงมาตีพิมพ์โดยไม่ได้รับอนุญาต การบุกรุกเข้าไปทำข่าวหรือถ่ายภาพในสถานที่พักอาศัยของแหล่งข่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต

n การละเมิดตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535
n บทบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 มาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าว คือ มาตรา 101 ซึ่งระบุไว้ดังนี้
n มาตรา 101 ผู้ใดแพร่หรือไขข่าวที่ไม่เป็นความจริงเกี่ยวกับอันตรายจากแหล่งกำเนิดมลพิษใด โดยมีเจตนาที่จะทำลายชื่อเสียงหรือความไว้วางใจของ สาธารณชนต่อการดำเนินกิจการโดยชอบด้วยกฎหมายของแหล่งกำเนิดมลพิษนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
            หากการแพร่หรือไขข่าวตามวรรคหนึ่งกระทำโดยการประกาศโฆษณาหรือออกข่าวทางหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอย่างอื่น ผู้กระทำผิดดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

n บทบัญญัติของกฎหมายตามมาตรานี้ มีความเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 46 และ 56 ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษา อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติสุขในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของตน และเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 58 และ 59 ในเรื่องของสิทธิที่ประชาชนจะได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร คำชี้แจง และเหตุผลต่าง ๆ จากหน่วยงานของรัฐก่อนการอนุญาตหรือดำเนินโครงการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ คุณภาพชีวิต และสามารถแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวได้
n ดังนั้น ผู้สื่อข่าวจึงต้องระมัดระวังในการนำเสนอข่าวหรือข้อมูล โดยมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบคอบ ทั้งข้อมูลที่หาได้มาด้วยตนเอง หรือข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข่าว เพราะอาจมีการให้ข้อมูลเท็จเพื่อทำลายชื่อเสียงฝ่ายตรงข้ามก็เป็นได้

n การละเมิดอำนาจศาล
n การละเมิดอำนาจศาล คือการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือการฝ่าฝืนคำสั่งของศาล เพราะคำวินิจฉัยของศาลถือเป็นเด็ดขาด ซึ่งคำสั่งของศาลถือเป็นอำนาจสูงสุดที่สื่อมวลชนไม่สามารถอ้างสิทธิเสรีภาพหรือการทำหน้าที่เพื่อเผยแพร่ข่าวหรือโฆษณาด้วยวิธีใด ๆ ได้
n กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดอำนาจศาล ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีมาตราสำคัญที่ผู้สื่อข่าวโดยเฉพาะผู้สื่อข่าวสายอาชญากรรมและผู้สื่อข่าวศาลจำเป็นต้องรู้และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
n มาตรา 32 ผู้ใดเป็นผู้ประพันธ์ บรรณาธิการ หรือผู้พิมพ์โฆษณาซึ่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อันออกโฆษณาต่อประชาชน ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะได้รู้ถึงซึ่งข้อความหรือการออกโฆษณาแห่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่านั้นหรือไม่ ให้ถือว่าได้กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างดังจะกล่าวต่อไปนี้
            (1) ไม่ว่าเวลาใด ๆ ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่ามานั้นได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ซึ่งข้อความหรือความเห็นอันเป็นการเปิดเผยข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์อื่น ๆ แห่งคดี หรือกระบวนการพิจารณาใด ๆ แห่งคดี ซึ่งเพื่อความเหมาะสมหรือเพื่อคุ้มครองสาธารณประโยชน์ ศาลได้มีคำสั่งให้พิจารณาโดยไม่เปิดเผย หรือโดยวิธีห้ามการออกโฆษณาโดยชัดแจ้ง
(2) ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ ได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ในระหว่างการพิจารณาแห่งคดีไปจนมีคำพิพากษาเป็นที่สุด ซึ่งข้อความหรือความเห็นโดยประสงค์จะให้มีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชน หรือเหนือศาลหรือเหนือคู่ความ หรือเหนือพยานแห่งคดีซึ่งพอเห็นได้ว่าจะทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรมไป เช่น
                        ก. เป็นการแสดงผิดจากข้อเท็จจริงแห่งคดี หรือ
                        ข. เป็นรายงานหรือย่อเรื่องหรือวิภาค ซึ่งกระบวนการพิจารณาแห่งคดีอย่างไม่เป็นกลางและไม่ถูกต้อง หรือ
                        
 ค. เป็นการวิภาคโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งการดำเนินคดีของคู่ความ หรือคำพยานหลักฐาน หรือนิสัยความประพฤติของคู่ความหรือพยาน รวมทั้งการแถลงข้อความอันเป็นการเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของคู่ความหรือพยาน แม้ถึงว่าข้อความเหล่านั้นจะเป็นความจริง หรือ
                        ง. เป็นการชักจูงให้เกิดมีคำพยานเท็จ
            เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้นำวิเคราะห์ศัพท์ทั้งปวงในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2476 มาใช้บังคับ
n สาระสำคัญตามมาตรา 32 คือ สื่อมวลชนห้ามนำข้อมูลที่ศาลพิจารณาเป็นความลับและสั่งห้ามเปิดเผยมานำเสนอโดยเด็ดขาด สำหรับข้อมูลที่สามารถนำเสนอได้นั้นจะต้องไม่ผิดจากข้อเท็จจริง ต้องนำเสนออย่างเป็นกลางและถูกต้อง ข้อมูลที่นำเสนอต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อคู่ความและพยาน นอกจากนี้ การนำเสนอข่าวจะต้องไม่เป็นการชักจูงให้เกิดพยานเท็จ สำหรับวรรคสุดท้ายของมาตรา 32 นั้น จะต้องนำพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาบังคับใช้แทน เนื่องจากพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2476 ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว

n มาตรา 33 คู่ความฝ่ายใดหรือบุคคลใดกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลใด ให้ศาลนั้นมีอำนาจสั่งลงโทษโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือทั้งสองวิธีดังจะกล่าวต่อไปนี้
            (ก) ไล่ออกจากบริเวณศาล หรือ
            (ข) ให้ลงโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ
การไล่ออกจากบริเวณศาลนั้นให้กระทำได้ชั่วระยะเวลาที่ศาลนั่งพิจารณาหรือภายในระยะเวลาใด ๆ ก็ได้ตามที่ศาลเห็นสมควร เมื่อจำเป็นจะเรียกให้ตำรวจช่วยจัดการก็ได้
            ในกรณีกำหนดโทษจำคุกและปรับนั้นให้จำคุกได้ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
n มาตรา 36 การนั่งพิจารณาคดีจะต้องกระทำในศาลต่อหน้าคู่ความที่มาศาลและโดยเปิดเผย เว้นแต่
            (1) ในคดีเรื่องใดที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในศาล เมื่อศาลได้ขับไล่คู่ความฝ่ายใดออกไปเสียจากบริเวณศาลโดยที่ประพฤติไม่สมควร ศาลจะดำเนินการนั่งพิจารณาคดีต่อไปลับหลังคู่ความฝ่ายนั้นก็ได้
            (2) ในคดีเรื่องใด เพื่อความเหมาะสม หรือเพื่อคุ้มครองสาธารณประโยชน์ ถ้าศาลเห็นสมควรจะห้ามมิให้มีการเปิดเผยซึ่งข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ต่าง ๆ ทั้งหมด หรือบางส่วนแห่งคดีซึ่งปรากฏจากคำคู่ความหรือคำแถลงการณ์ของคู่ความ หรือจากคำพยานหลักฐานที่ได้สืบมาแล้วศาลจะมีคำสั่งดังต่อไปนี้ก็ได้
(ก) ห้ามประชาชนมิให้เข้าฟังการพิจารณาทั้งหมดหรือบางส่วน แล้วดำเนินการพิจารณาไปโดยไม่เปิดเผย หรือ   (ข) ห้ามมิให้ออกโฆษณาข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ต่าง ๆ เช่นว่านั้น
            
 ในบรรดาคดีทั้งปวงที่ฟ้องขอหย่าหรือฟ้องชายชู้หรือฟ้องให้รับรองบุตร ให้ศาลห้ามมิให้มีการเปิดเผยซึ่งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ใด ๆ ที่ศาลเห็นเป็นการไม่สมควร หรือพอจะเห็นได้ว่าจะทำให้เกิดการเสียหายอันไม่เป็นธรรมแก่คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
            ไม่ว่าศาลจะได้มีคำสั่งตามอนุมาตรา (2) นี้หรือไม่ คำสั่งหรือคำพิพากษาชี้ขาดคดีของศาลนั้น ต้องอ่านในศาลโดยเปิดเผยและมิให้ถือว่าการออกโฆษณาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแห่งคำพิพากษานั้น หรือย่อเรื่องแห่งคำพิพากษาโดยเป็นกลางและถูกต้องนั้นเป็นผิดกฎหมาย
n (ก) ห้ามประชาชนมิให้เข้าฟังการพิจารณาทั้งหมดหรือบางส่วน แล้วดำเนินการพิจารณาไปโดยไม่เปิดเผย หรือ            (ข) ห้ามมิให้ออกโฆษณาข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ต่าง ๆ เช่นว่านั้น
            
 ในบรรดาคดีทั้งปวงที่ฟ้องขอหย่าหรือฟ้องชายชู้หรือฟ้องให้รับรองบุตร ให้ศาลห้ามมิให้มีการเปิดเผยซึ่งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ใด ๆ ที่ศาลเห็นเป็นการไม่สมควร หรือพอจะเห็นได้ว่าจะทำให้เกิดการเสียหายอันไม่เป็นธรรมแก่คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
            ไม่ว่าศาลจะได้มีคำสั่งตามอนุมาตรา (2) นี้หรือไม่ คำสั่งหรือคำพิพากษาชี้ขาดคดีของศาลนั้น ต้องอ่านในศาลโดยเปิดเผยและมิให้ถือว่าการออกโฆษณาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแห่งคำพิพากษานั้น หรือย่อเรื่องแห่งคำพิพากษาโดยเป็นกลางและถูกต้องนั้นเป็นผิดกฎหมาย

n ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
n มาตรา 177 ศาลมีอำนาจสั่งให้พิจารณาเป็นความลับ เมื่อเห็นสมควร โดยพลการหรือโดยคำร้องขอของคู่ความฝ่ายใด แต่ต้องเพื่อประโยชน์แห่งความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันความลับอันเกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศมิให้ล่วงรู้ถึงประชาชน
n ในกรณีนี้ หากผู้สื่อข่าวละเมิดอำนาจศาลโดยการนำข้อมูลที่ศาลพิจารณาเป็นความลับมาเปิดเผย ซึ่งข้อมูลที่นำมาเปิดเผยนั้นอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นความลับของประเทศชาติ จะต้องได้รับโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33  ซึ่งอาจจะเป็นโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ

n ความผิดเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน
n  ปัจจุบันมีเหตุการณ์และคดีความต่าง ๆ เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนเกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งคดีที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำความผิด และคดีที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้ถูกกระทำ คดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนเหล่านี้ กฎหมายไม่สามารถตัดสินให้เด็กหรือเยาวชนได้รับโทษหนักหรือถึงขั้นประหารชีวิตได้ เพราะมีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองเด็กและเยาวชนอยู่ คือ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
n พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534
n เป็นกฎหมายที่รัฐออกมาเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของประเทศ เพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้คดีเกี่ยวกับครอบครัวซึ่งเป็นคดีที่มีความละเอียดอ่อนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับคดีเด็กและเยาวชน ได้รับการพิจารณาในศาลที่มีวิธีพิจารณาเป็นพิเศษแตกต่างจากคดีธรรมดา โดยมีการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวขึ้นแทนศาลคดีเด็กและเยาวชน  
n มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้            เด็ก  หมายความว่า  บุคคลอายุเกินเจ็ดปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกินสิบสี่ปีบริบูรณ์            เยาวชน  หมายความว่า  บุคคลอายุเกินสิบสี่ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์
n เด็กและเยาวชน ถือว่าเป็นบุคคลที่ไม่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ เป็นผู้มีวัยวุฒิและคุณวุฒิน้อย จึงอาจกระทำผิดได้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้น การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับคดีที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนของสื่อมวลชนจึงมีความแตกต่างจากคดีอื่น ๆ โดยทั่วไป
n ตามพระราชบัญญัตินี้ มีทั้งข้อห้ามและบัญญัติบางมาตราที่สื่อมวลชนต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการรายงานข่าวเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน
n มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้            เด็ก  หมายความว่า  บุคคลอายุเกินเจ็ดปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกินสิบสี่ปีบริบูรณ์            เยาวชน  หมายความว่า  บุคคลอายุเกินสิบสี่ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์
n เด็กและเยาวชน ถือว่าเป็นบุคคลที่ไม่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ เป็นผู้มีวัยวุฒิและคุณวุฒิน้อย จึงอาจกระทำผิดได้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้น การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับคดีที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนของสื่อมวลชนจึงมีความแตกต่างจากคดีอื่น ๆ โดยทั่วไป
n ตามพระราชบัญญัตินี้ มีทั้งข้อห้ามและบัญญัติบางมาตราที่สื่อมวลชนต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการรายงานข่าวเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน

n มาตรา 93 ห้ามมิให้ผู้ใดบันทึกภาพ แพร่ภาพ พิมพ์รูป หรือบันทึกเสียง แพร่เสียงของเด็กหรือเยาวชน ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด หรือโฆษณาข้อความซึ่งปรากฏในทางสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรือในทางพิจารณาคดีของศาลที่อาจทำให้บุคคลอื่นรู้จักตัว ชื่อตัว ชื่อสกุล ของเด็กหรือเยาวชนนั้น หรือโฆษณาข้อความเปิดเผยประวัติการกระทำความผิด หรือสถานที่อยู่ สถานที่ทำงาน หรือสถานศึกษาของเด็กและเยาวชนนั้น
            ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่การกระทำเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยได้รับอนุญาตจากศาลหรือการกระทำที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ทางราชการ
n สื่อมวลชนจึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติตามมาตรา 93 อย่างเคร่งครัด ดังที่เราได้เห็นการนำเสนอข่าวที่มีเด็กและเยาวชนเป็นผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์จำนวนมากทางสื่อมวลชน ซึ่งข้อมูลที่นำเสนอจะต้องมิให้ล่วงรู้ถึงตัวเด็กหรือเยาวชน ส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ชื่อสมมุติแทน ส่วนสถานที่อยู่ สถานศึกษา หรือสถานที่ทำงานจะนิยมระบุจังหวัดหรืออำเภอแทน สำหรับการนำเสนอภาพทางหนังสือพิมพ์จะนิยมปกปิดบริเวณใบหน้าโดยการใช้สีดำคาดทับบริเวณดวงตา หากเป็นสื่อวิทยุโทรทัศน์จะทำให้ภาพเบลอ หรือใช้วิธีการถ่ายด้านหลังหรือถ่ายในมุมมืดแทน
n มาตรา 98 ในการโฆษณาไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือซึ่งคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ห้ามมิให้ระบุชื่อ หรือแสดงข้อความ หรือกระทำการด้วยประการใด ๆ อันจะทำให้รู้จักตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล              
n  มาตรา 113 ในการโฆษณาไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือซึ่งคำคู่ความ ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ใด ๆ ในคดี หรือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีครอบครัว ห้ามมิให้ระบุชื่อหรือแสดงหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณ ของบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือถูกกล่าวถึงในคดี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล 
n จากมาตรา 98 และ 113 หมายความว่า สื่อมวลชนสามารถรายงานข่าวผลการพิจารณาคดี คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลได้ เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอย่างเคร่งครัด โดยข้อมูลหรือข่าวที่นำเสนอนั้นต้องไม่ให้รู้จักตัวเด็กและเยาวชน และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับคดี และต้องไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีด้วย ยกเว้นบางคดีที่ศาลจะอนุญาตให้สามารถนำเสนอรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมได้บ้าง หากเป็นคดีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล
n ดังนั้น หากผู้สื่อข่าวไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ถือว่าละเมิดอำนาจศาล ซึ่งมาตรา 131 ของพระราชบัญญัตินี้ ระบุไว้ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 93 มาตรา 98 หรือมาตรา 113 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
n การตราพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 นี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อระดมทรัพยากรทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมดูแล ปกป้อง คุ้มครองเด็ก โดยอาศัยการดำเนินงานแบบสหวิชาชีพเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก กฎหมายฉบับนี้ได้วางระบบการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพและการส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา และส่งเสริมหน้าที่ความรับผิดชอบของครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ในการร่วมมือกันคุ้มครองเด็กโดยไม่พึ่งทรัพยากรจากภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว

n พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
n สำหรับสาระสำคัญของพระราชบัญญัตินี้ มีมาตราที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สื่อข่าว ดังนี้
n มาตรา 4  เด็ก หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
n มาตรา 27  ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
n มาตรา 50  ห้ามมิให้ผู้ปกครองสวัสดิภาพหรือผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุล ภาพหรือข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับตัวเด็ก ผู้ปกครอง ในลักษณะที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณหรือสิทธิประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งของเด็กหรือผู้ปกครอง
            บทบัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยาและผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ ซึ่งได้ล่วงรู้ข้อมูลดังกล่าวเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วย โดยอนุโลม
            ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใดซึ่งข้อมูลที่เปิดเผยโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
n มาตรา 79 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 มาตรา 50 หรือมาตรา 61 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ                  
n จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 และ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ที่ยกมานำเสนอในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนนั้น มีแนวทางปฏิบัติที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งผู้สื่อข่าวจะต้องนำมาเป็นแนวทางในการทำข่าวเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน


ขอบคุณที่มา : จาก...เอกสารประกอบการสอนวิชา นท. 2107 กฎหมายและจริยธรรมการสื่อสารมวลชน

1 ความคิดเห็น: