วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณา


ดิฉันมีเรื่องเกี่ยวกับกฎมายด้านการโฆษณา มานำเสนอให้คุณผู้อ่านได้่าน และศึกษาดูกันนะคะ

กฎหมายด้านการโฆษณา 

                ความจำเป็นของรัฐในการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคหากมองจากสภาพทางเศรษฐกิจคงจะเป็นผลสืบเนื่องจากระบบเศรษฐกิจเสรี (Laisser Fair) ซึ่งเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้เอกชนแข่งขันในทางการค้าโดยรัฐไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว จนกระทั่งเกิดการผูกขาดโดยระบบทุนและกำไรในการผลิต เกิดความคิดในการใช้งานโฆษณาเพื่อจำหน่ายสินค้าและบริการโฆษณาถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง ทุกวันนี้รัฐได้เล็งเห็นปัญหาและความเสียเปรียบที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคในการตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ รัฐมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อคุ้มครอง
สิทธิของผู้บริโภคไว้จึงได้ตรากฎหมายขึ้นและดำเนินการโดยฝ่ายปกครองเพื่อคุ้มครองสิทธิและเข้าไปดำเนินคดีที่สิทธิผู้บริโภคถูกละเมิด เพราะการโฆษณาได้ฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
 กฎหมายที่นักสื่อสารมวลชนหรือผู้ประกอบอาชีพโฆษณาควรรู้ ได้แก่
1. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541
2. พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 , 2518 , 2522
3. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
4. พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ. 2518
5. พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535
6. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

1.)  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2541 

ผู้บริโภคมีสิทธิจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 
 1.สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ 
 2.สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ 
 3.สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ 
 (3.ทวิ)สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา  2 
 4.สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย(มาตรา4) 


กฎหมายด้านการโฆษณายา 

2. )พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 
“ผู้อนุญาต” หมายความว่า 
1. เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย สำหรับการอนุญาตผลิตยา หรือการนำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร 
2. เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย สำหรับการขายยาในกรุงเทพมหานคร 
3. ผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับการอนุญาตขายยาในจังหวัดที่อยู่ในเขตอำนาจนอกจากกรุงเทพมหานคร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการยาตามพระราชบัญญัตินี้ 
ก. ข้อห้ามและระเบียบปฏิบัติ 
 พระราชบัญญัติยาได้วางบรรทัดฐานในการโฆษณาขายยาไว้ในหมวด 11 การโฆษณายามี ทั้งข้อห้าม แนวปฏิบัติ และบทลงโทษ หากมีการฝ่าฝืนตามบทบัญญัติ ดังนี้ 

 1. การโฆษณาขายยาจะต้อง 
   1.1 การโฆษณาจะต้องคำนึง 
            (1) ไม่เป็นการโอ้อวดสรรพคุณยาหรือวัตถุอันเป็นส่วนประกอบของยาว่าสามารถบำบัด บรรเทา 
รักษา หรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยได้ อย่างศักดิ์สิทธิ์ หรือหายขาด หรือใช้ถ้อยคำอื่นใดที่มี
ความหมายทำนองเดียวกัน 
             (2) ไม่แสดงสรรพคุณยาอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง 
             (3) ไม่ทำให้เข้าใจว่าวัตถุใดเป็นตัวยาหรือส่วนประกอบของยา ซึ่งความจริงไม่มีส่วนประกอบหรือวัตถุ
นั้นในยาหรือมีแต่ไม่ทำที่เข้าใจผิด 
             (4) ไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาทำให้แท้งลูก หรือยาขับระดูอย่างแรง 
             (5) ไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาบำรุงกามหรือคุมกำเนิด 
             (6) ไม่แสดงสรรคุณอันตราย หรือยาคุมพิเศษ 
             (7) ไม่มีการรับรองหรือยกย่องสรรพคุณยาโดยบุคคลอื่น 
             (8) ไม่แสดงสรรพคุณยาว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคหรืออาการของโรคที่รัฐมนตรี
ประกาศตามมาตรา 77  
  1.2 ห้ามมิให้โฆษณาขายยาโดยไม่สุภาพหรือการร้องรำทำเพลง หรือแสดงความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย(มาตรา 89)  
 1.3 ห้ามมิให้มีการโฆษณาขายยาโดยวิธีแถมพกหรือออกสลากรางวัล (มาตรา 90)

 2. วิธีปฏิบัติในการโฆษณา  การโฆษณาขายยาทางวิทยุกระจายเสียง เครื่องขยายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพหรือทางภาพยนตร์หรือทางสิ่งพิมพ์จะต้อง         
  (1) ได้รับอนุญาตข้อความเสียง หรือภาพที่ใช้ในการโฆษณาจากผู้อนุญาต           
  (2) ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้อนุญาตกำหนด (มาตรา 88 ทวิ) 

3. อำนาจการสั่งการ  เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ระงับการโฆษณาขายยาที่เห็นว่าเป็นการโฆษณาโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ได้ (มาตรา 90 ทวิ) 
ข. บทกำหนดโทษ 
 หากผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้าม แนวทางปฏิบัติจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ดังนี้ 
 (1) ผู้ใดโฆษณาขายยาโดยฝ่าฝืนมาตรา 88 มาตรา 88 ทวิ มาตรา 89 และมาตรา 90 ต้องระวางโทษ
จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 124) 
 (2) ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการโฆษณาขายยาของคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งสั่งตามมาตรา 90 
ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและให้ปรับ
รายวันอีกวันละห้าร้อยจนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว (มาตรา 124 ทวิ)

กฎหมายด้านการโฆษณาอาหาร 

3.) พระราชบัญญัติว่าด้วยอาหาร พ.ศ. 2522 
 ข้อห้ามและระเบียบปฏิบัติ เพื่อควบคุมให้มีการโฆษณาไม่เป็นพิษภัยต่อผู้บริโภค พระราชบัญญัตินี้จึงได้กำหนดไว้ว่า  
              1.ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ หรือเป็นการหลอหลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ( มาตรา 40 ) 
            2. ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารทางวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพ หรือทางหนังสือพิมพ์หรือหนังสือพิมพ์อื่นหรือด้วยวิธีอื่นเพื่อประโยชน์ในทางการค้า ต้องนำเสียง ภาพ ภาพยนตร์ หรือข้อความที่จะโฆษณาดังกล่าวนั้นให้ผู้อนุญาตตรวจพิจารณาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะโฆษณาได้ ( มาตรา 41 ) 
     3.เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ และความปลอดภัยของผู้บริโภค ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 
               3.1 ให้ผู้ผลิตนำเข้าหรือจำหน่ายอาหาร หรือผู้ทำการโฆษณาระงับการโฆษณาอาหารที่เห็นว่าเป็นการโฆษณาโดยฝ่าฝืนมาตรา 41 
          3.2 ให้ผู้ผลิตผู้นำเข้าหรือจำหน่ายอาหาร หรือผู้ท าการโฆษณาอาหาร ระงับการผลิตการนำเข้า การจำหน่าย หรือการโฆษณาอาหารที่คณะกรรมการเห็นว่าอาหารดังกล่าวไม่มีคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณตามที่โฆษณา ( มาตรา 42 ) 

ก. บทกำหนดโทษ หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องรับโทษ ดังนี้ 
1 ผู้ใดโฆษณาอาหารโดยฝ่าฝืนมาตรา 40 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ( มาตรา 70 ) 
2 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 41 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท ( มาตรา 71 ) 
3 ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อนุญาตซึ่งสั่งตามมาตรา 42 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสอง ปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่น้อยกว่าห้าร้อยบาทแต่ไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ( มาตรา 72 ) 

กฎหมายด้านการโฆษณาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท 

4.) พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ. 2518 

มาตรา 48 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเพื่อการค้า ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์เว้นแต่
(1)  การโฆษณาซึ่งกระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบอาชีพ เวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรม เภสัชกร หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง
(2)  เป็นฉลากหรือเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ที่ภาชนะ หริหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์ วัตถุออกฤทธิ์ หมายความว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ หมายความว่ากระดาษหรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ปรากฏความหมายด้วยรูป – รอย ประดิษฐ์ หรือข้อความใดๆ อันเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ ซึ่งสอดแทรกหรือรวบรวมไว้กับภาชนะ หรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์ ( มาตรา 4 )


กฎหมายด้านการโฆษณาวัตถุอันตราย 

 5.) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 


มาตรา 51 การควบคุมการโฆษณาวัตถุอันตราย ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง

ผู้บริโภค และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมโฆษณาให้ถือว่า วัตถุอันตรายที่มีการกำหนดฉลากตามมาตรา 

20 ( 1 ) เป็นสินค้าที่มีการควบคุมฉลาก โดยคณะกรรมการควบคุมฉลากตามกฎหมายดังกล่าวโดยอนุโลม 

วัตถุอันตราย หมายความว่า วัตถุดังต่อไปนี้ 

1 วัตถุระเบิดได้ 

2 วัตถุไวไฟ 

3 วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์ 

4 วัตถุมีพิษ 

5 วัตถุที่ทำให้เกิดโรค 
6 วัตถุกัมมันตรังสี 
7 วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม 
8 วัตถุกัดกร่อน 
9 วัตถุที่ก่อให้เกิดระคายเคือง
10 วัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใด ที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืชทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม ( มาตรา 4 ) 


โทษของผู้ฝ่าฝืนการเซ็นเซอร์สื่อ

 

เมื่อมีกฎหมายให้อำนาจเซ็นเซอร์สื่อแล้ว กฎหมายจะมีสภาพบังคับได้ก็ต่อเมื่อมีบทกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืนเอาไว้ด้วย ดังนั้น หากมีคำสั่งจากผู้มีอำนาจ ด้วยเงื่อนไขตามกฎหมายเพื่อปิดกั้นสื่อแล้ว และมีผู้ฝ่าฝืนไม่เชื่อฟัง ยังคงเผยแพร่สื่อนั้นสู่สาธารณะต่อไป ก็ย่อมมีความผิดและมีโทษตามกฎหมาย ซึ่งโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้ควบคุมสื่อแต่ละประเภทก็แตกต่างกันไปตามประเภทของสื่อด้วย

โทษของผู้ฝ่าฝืนการเซ็นเซอร์สื่อ
ประเภทสื่อโทษของผู้ฝ่าฝืน
วิทยุและโทรทัศน์ปรับ 50,000 – 500,000 บาท หรือเพิกถอนใบอนุญาต
สิ่งพิมพ์จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ภาพยนตร์จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อินเทอร์เน็ตจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หรือ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


วิทยุและโทรทัศน์

พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕๗ ประกอบกับ มาตรา ๕๘ กำหนดไว้ชัดเจนถึงโทษของเจ้าของสถานีที่ไม่ควบคุมดูแลปล่อยให้รายการที่ผิดกฎหมาย ตามมาตรา ๓๗ ออกอากาศในสถานีของตน ซึ่งโทษตามกฎหมายนี้จะมีเพียงโทษปรับทางปกครอง และผู้ที่มีอำนาจสั่งปรับคือ คณะกรรมการกสทช.

มาตรา ๕๗ โทษปรับทางปกครอง มีดังต่อไปนี้

(๑) โทษปรับทางปกครองชั้น ๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
(๒) โทษปรับทางปกครองชั้น ๒ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาท แต่ไม่เกินห้าแสนบาท
(๓) โทษปรับทางปกครองชั้น ๓ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าแสนบาท แต่ไม่เกินห้าล้านบาท

มาตรา ๕๙ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ใด

(๑) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๔ วรรคห้า มาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๘
(๒) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรการ หรือประกาศที่คณะกรรมการประกาศกำหนดตามมาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๔๕ (๓) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๔ วรรคสี่ หรือมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับทางปกครองชั้น ๒” หากได้รับโทษปรับแล้ว แต่เจ้าของสถานียังคงออกอากาศรายการที่ผิดต่อกฎหมายอยู่อย่างต่อเนื่อง ก็ยังคงต้องรับโทษปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราสองหมื่นบาทต่อวัน ตามมาตรา ๖๑

มาตรา ๖๑ ถ้าการกระทำความผิดซึ่งมีโทษปรับทางปกครองเป็นความผิดต่อเนื่อง และคณะกรรมการได้พิจารณาสั่งลงโทษปรับทางปกครองสำหรับความผิดนั้น ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับรายวันอีกในอัตราดังต่อไปนี้ นับแต่วันที่มีคำสั่งลงโทษปรับทางปกครองดังกล่าว ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหรือจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

(๑) กรณีโทษปรับทางปกครองชั้น ๑ ให้ปรับวันละไม่เกินห้าพันบาท
(๒) กรณีโทษปรับทางปกครองชั้น ๒ ให้ปรับวันละไม่เกินสองหมื่นบาท
(๓) กรณีโทษปรับทางปกครองชั้น ๓ ให้ปรับวันละไม่เกินห้าหมื่นบาท

ให้คณะกรรมการดำเนินการบังคับให้มีการชำระค่าปรับรายวันทุกสิบห้าวัน
นอกจากนี้ หากการออกอากาศรายการที่ผิดกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง คณะกรรมการกสทช. อาจสั่งพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตของเจ้าของสถานีได้ ตามมาตรา ๖๔

มาตรา ๖๔ คณะกรรมการอาจพิจารณาสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้

(๒) ผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนมาตรา ๓๗ และเป็นกรณีที่เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง

สิ่งพิมพ์
พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีบทกำหนดโทษไว้ชัดเจนสำหรับผู้ฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในมาตรา ๒๗

มาตรา ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามมาตรา ๑๐ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ภาพยนตร์

พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑ มีบทกำหนดโทษไว้ชัดเจน สำหรับผู้ฝ่าฝืนนำภาพยนตร์ที่ถูกจัดเป็นประเภทห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักรออกเผยแพร่ ในมาตรา ๗๗

มาตรา ๗๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง หรือนำภาพยนตร์ตามมาตรา ๒๖ (๗) ออกเผยแพร่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อินเทอร์เน็ต

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ ไม่ได้กำหนดไว้โดยตรงว่าหากมีคำสั่งปิดกั้นเนื้อหาใดบนเว็บไซต์ใดแล้ว หากใครฝ่าฝืนนำเนื้อหาดังกล่าวมาเผยแพร่ต่อจะเป็นความผิด แต่เนื่องจากเงื่อนไขของคำสั่งปิดกั้นเนื้อหาบนเว็บไซต์ คือ เนื้อหานั้นต้องเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ดังนั้นหากมีคำสั่งปิดกั้นเนื้อหาใดแล้ว แต่ยังมีคนนำเนื้อหานั้นมาเผยแพร่เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อยู่ คนนั้นก็ย่อมมีความผิดตามมาตราที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัตินี้ หากเป็นเนื้อหาที่เข้าข่ายกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน หรือลามกอนาจาร ก็จะมีความผิดตามมาตรา ๑๔ มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากเป็นการตัดต่อภาพบุคคล โดยประการที่น่าจะทำให้เสียชื่อเสียง ก็จะมีความผิดตามมาตรา ๑๖ มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

“มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)

มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ขอบคุณที่มา : ilawfreedom 

หมิ่นประมาทยอมความได้


หมิ่นประมาทยอมความได้หรือไม่
                      การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยที่น่าจะทำให้ผู้อื่นที่ถูกใส่ความนั้นต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังนั้น กฎหมายถือว่าเป็นการกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องมีโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าเป็นการกระทำความผิดฐานนี้ด้วยการโฆษณาด้วยแล้ว โทษก็ย่อมจะมีสูงขึ้นด้วย เช่น การพูดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามว่า เขาเป็นคนไม่ดี ความประพฤติไม่ดีต่างๆ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม ย่อมเป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว                          แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น เมื่อเป็นความผิดแล้วก็มิใช่ว่าจะต้องมีการดำเนินคดีฟ้องร้องกันจนถึงขั้นให้ศาลลงโทษตามความผิดเสนอมไป เพราะความผิดฐานหมิ่นประมาทนี้ กฎหมายให้ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความได้ ดังนั้น ถ้าผู้กระทำผิดได้มีการกล่าวขอโทษด้วยวิธีการต่างๆ เช่น กล่าวขอโทษผู้เสียหายทางสื่อต่างๆ และชดใช้ความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายตามสมควรแล้ว คู่กรณีอาจตกลงยอมความต่อกันได้เสมอ ก่อนคดีถึงที่สุด

ความผิดอันยอมความได้ | คดีหมิ่นประมาท | ร้องทุกข์ภายในสามเดือน
ในคดีความผิดอันยอมความได้นั้นผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความ ผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิฉะนั้นเป็นอันขาดอายุความและเมื่อมีการร้องทุกข์แล้วต้องฟ้องคดีภายใน 5 ปี ในกรณีที่ผู้เสียหายประสงค์จะฟ้องเองก็ไม่จำเป็นต้องร้องทุกข์ก็ได้ ในกรณีนี้ผู้เสียหายต้องฟ้องภายในสามเดือน ดังนั้นการที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แล้วภายในสามเดือนแล้วมาฟ้องคดีเมื่อพ้นสามเดือนมาแล้วคดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
                    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2532
อายุความในการร้องทุกข์สำหรับความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 มีกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดประกอบกันทั้งสองประการ กฎหมายหาได้บัญญัติให้นับอายุความร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่จำเลยกระทำความผิดไม่ จำเลยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2528และต่อมาวันที่ 14 มกราคม 2528 หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวตามที่จำเลยให้สัมภาษณ์ ต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้กระทำความผิด ในวันดังกล่าวเมื่อโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 13 เมษายน 2528ซึ่งอยู่ภายในกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากวันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเกินสามเดือนแต่ยังอยู่ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 95 คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328, 332, 83, 91 ให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาของศาลทั้งหมดในหนังสือพิมพ์รายวันจำนวน 5 ฉบับมีกำหนด 7 วัน โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ปรับ 1,000 บาทไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30คำขออื่นให้ยก โจทก์และจำเลยฎีกา
                 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "สำหรับฎีกาของจำเลยข้อ 2.1 ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2528โจทก์มาร้องทุกข์เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2528 ซึ่งเกินกำหนดเวลาสามเดือน นับแต่วันกระทำผิดและโจทก์เพิ่งนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2528 เป็นเวลาเกินกว่าสามเดือนนับแต่วันกระทำความผิด คดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐาน ในสำนวนซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงมาว่า เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2528 จำเลยได้ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ต่อมาวันที่14 มกราคม 2528 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ได้ลงข่าวตามที่จำเลยให้สัมภาษณ์ โจทก์ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 13เมษายน 2528 เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทตามข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับดังกล่าว เห็นว่าอายุความในการร้องทุกข์สำหรับความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 มีกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดประกอบกันทั้งสองประการ กฎหมายหาได้บัญญัติให้นับอายุความร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่จำเลยกระทำความผิดไม่ การที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันที่ 14 มกราคม 2528 ลงข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ตามที่จำเลยให้สัมภาษณ์ ย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้กระทำความผิดในวันดังกล่าว เมื่อโจทก์ได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 แล้ว แม้โจทก์จะนำคดีมาฟ้องหลังจากวันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเกินสามเดือน แต่โจทก์ก็นำคดีมาฟ้องภายในกำหนดอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 ดังนี้คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น"
      
     มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิด มายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอัน ขาดอายุความ
(1) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
(2) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึง หนึ่งปี
(5) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือน ลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
     ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำ ความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกิน กำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน
     มาตรา 96 ภายใต้บังคับ มาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความ ได้ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความ ผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ มาตรา 97 ในการฟ้องขอให้กักกัน ถ้าจะฟ้องภายหลังการฟ้อง คดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกัน ต้องฟ้องภายในกำหนด หกเดือนนับแต่วันที่ฟ้องคดีนั้น มิฉะนั้น เป็นอันขาดอายุความ

ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 326   
ระบุถึงการกระทำความผิด ฐานหมิ่นประมาทไว้ว่า    “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการ ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น  เสียชื่อเสียงถูก  ดูหมิ่น   หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”  การหมิ่นประมาท ที่จะเป็นความผิดที่มีโทษ ทางอาญานั้น จะต้องมีการกระทำ ที่สำคัญ คือ
 “ใส่ความ”  ความหมายที่ได้บัญญัติไว้   โดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ให้ความหมายไว้ว่า พูดหาเหตุ หรือ กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับ ความเสียหาย 
            ตามความหมายที่ชาวบ้านธรรมดาเข้าใจกัน ก็คือการใส่ความแก่กัน ว่าใส่ร้ายหรือแสดงข้อความที่ไม่เป็นความจริง 
            แต่ข้อเท็จจริงตามกฏหมายข้อความที่กล่าวแก่บุคคลอื่นนั้นแม้ที่กล่าว ออกไปนั้นเป็นความจริงก็ผิดกฎหมายมีโทษได้ 
 การ “ใส่ความ” ในกฎหมายนั้นมิได้จำกัดแต่ว่าเอาเรื่องไม่จริง ไปแต่งความใส่ร้ายเขาแต่มุ่งการเอาข้อความไปว่ากล่าวเขา ต้องเป็นการยืนยัน ข้อเท็จจริงว่า เป็นข้อความแน่นอนเป็นเหตุให้ผู้อื่น เสียชื่อเสียงด้วยประการ ต่าง ๆ   เช่น 
            ดำบอกแดงว่า มีข่าวลือว่าขาว เป็นชู้กับเมียนายเขียว แม้ดำจะเชื่อว่า ไม่จริง หรือเป็นความจริงก็ตาม ดำก็ผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว 
            การหมิ่นประมาทต้องเป็นการกล่าว “ใส่ความ” “ผู้อื่น” ต่อ “บุคคลที่สาม”   ต้องมีบุคคลสามฝ่าย คือ 
          
  1. ผู้กล่าว         2. ผู้อื่น         3. บุคคลที่สาม 

เช่น 
            ดำบอกแดงว่า แดงขโมยของเขียวไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะไม่มี บุคคลที่สาม แต่ถ้าดำบอกเหลืองว่า แดงขโมยของเขียว ดำผิดฐานหมิ่นประมาท แล้ว เพราะเหลืองเป็นบุคคลที่สาม 
            เมื่อมีการกล่าว การใส่ความ บุคคลที่สามแล้ว ประการสุดท้ายที่จะเป็นผิดฐานหมิ่นประมาทได้นั้น การใส่ความต้องทำให้ผู้ถูกใส่ความเสียหาย ไม่ว่าจะเสียหายในชื่อเสียงถูกคนอื่นดูหมิ่น ถูกเกลียดชังก็ได้

สรุป ก็คือ จะเป็นผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องมีการกระทำดังนี้
         1. ใส่ความผู้อื่น
         2. ต่อบุคคลที่สาม
         3. ทำให้ผู้อื่นเสียหายในชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง
            การใส่ความต้องมีผู้เสียหาย คือผู้ถูกใส่ความ ซึ่งตามหลักเกณฑ์ ทางกฏหมายคือผู้อื่น
            ผู้อื่นนั้นต้องเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลก็ได้

นิติบุคคล คือ บุคคลตามกฏหมาย เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด วัด เป็นต้น
            บุคคลผู้ถูกหมิ่นประมาทถ้าเป็นคนธรรมดา ต้องเป็นผู้มีชีวิตอยู่ แต่ถ้าตายไปแล้วก็ผิดกฏหมายได้ จะได้กล่าวในลำดับต่อไป
            บุคคลที่ถูกดูหมิ่นประมาทต้องมีตัวตน ระบุไว้แน่นอนว่าเป็นใคร กลุ่มใด สามารถกำหนดตัวตนได้เป็นที่แน่นอน
            ถ้ากล่าวกว้างเกินไป ก็ไม่สามารเอาผิดฐานหมิ่นประมาทได้  เช่น หมิ่นประมาทคนนครปฐม คนราชบุรี เป็นการระบุไว้อย่างกว้าง ๆ ไม่เป็นผิด


ตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกา 

         - การเขียนข้อความหมิ่นประมาทกำนันและปลัดอำเภอโดยไม่ระบุชื่อ ผู้อ่านบางคนรู้ว่าหมายความถึง  บ.กำนันคนปัจจุบัน   และ ป. ปลัดอำเภอ คนหนึ่งที่เกี่ยวข้องเรื่องนั้น  ปลัดอำเภออีก 4 คน  ไม่เกี่ยว ก็เป็น หมิ่นประมาท บ. และ ป. ไม่จำเป็นที่ผู้อ่านบางคน จะต้องรู้ว่าหมายความถึง บ. และ ป.
        -  ออกชื่อบุคคลในหนังสือพิมพ์ตอนแรกแต่ไม่ออกชื่อในตอนหลัง อาจอ่านประกอบกันเป็นหมิ่นประมาทบุคคลที่ออกชื่อในตอนแรก ก็ได้
         - กล่าวว่า แพทย์ชายใจทราม ในโรงพยาบาลศิริราช หมายความถึง แพทย์ชายคนหนึ่งมิได้หมายความถึงแพทย์ทุกคน ไม่เป็นความผิดฐานนี้
         - กล่าวถึงบุคคลในพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกในพรรคคนหนึ่ง ฟ้องไม่ได้ ในเมื่อไม่มีอะไรแสดงว่ากล่าวถึงผู้นั้นโดยเฉพาะ
         - กล่าวว่าเทศมนตรีทุจริต แต่ในระยะ 1 ปี มีเทศมนตรีเปลี่ยนกัน มาแล้ว  7 ชุดยังเข้าใจไม่ได้ว่า หมายความถึง เทศมนตรีชุดปัจจุบัน 3 นาย
         - กล่าวว่า ราษฏรบ้านกราดที่อพยพมา ล้วนเป็นคอมมิวนิสต์ ราษฏร มี  4,000 คน ไม่เข้าใจว่า หมายความถึงโจทก์ไม่เป็นหมิ่นประมาท
    แต่ถ้ากล่าวข้อความหมิ่นประมาทถึงแม้จะ กล่าวถึงคนเป็นกลุ่มเป็นพวก ก็ตามถ้าสามารถเป็นที่เข้าใจได้ว่า หมายถึง คนในกลุ่มในพวกนั้นทุกคนก็เป็น หมิ่นประมาทได้ แต่ต้องคำนึงถึงด้วยว่า คนในกลุ่มพวกดังกล่าว ต้องมีจำนวน ไม่มากเกินไป ถ้าจำนวนคนในกลุ่มพวกมีจำนวนมาก ๆ อาจทำให้เป็นที่เข้าใจ ได้ว่าไม่หมายความถึงทุกคน ไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท ดังตัวอย่างตาม คำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น

 ตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกา 

         - พูดหมิ่นประมาท “พระวัดนี้” หมายความว่า พระทั้งวัดซึ่งมี 6 รูป
         - กล่าวว่า “ทนายความเมืองร้อยเอ็ดเป็นนกสองหัว” ซึ่งมีทนายความอยู่ 10 คน การใส่ความดังกล่าวมาแล้วข้างต้น คือ เป็นการแสดงข้อเท็จจริงอันหนึ่ง อันใดแม้เป็นความจริงก็ผิดได้
         วิธีการใส่ความก็คือ แสดงข้อความให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ อาจเป็น พูด อ่านเขียน  วาดภาพ  แสดงท่าทาง  ภาษามือ ใช้เครื่องหมายสัญญลักษณ์

ตัวอย่าง
     - ดำวาดภาพแสดงข้อความว่าแดงเป็นคนไม่ดีให้เขียวดู เป็นหมิ่นประมาท
     - ดำหมิ่นประมาทแดงโดยใช้ภาษามือกับเขียว เป็นหมิ่นประมาท
     - ดำส่งกระดาษที่มีข้อความหมิ่นประมาทเขียวให้แดงอ่าน เป็นหมิ่นประมาท หรืออาจเป็นการแสดงออกโดยปิดประกาศหรือส่งจดหมาย พูดทางโทรศัพท์ ก็ได้
        ข้อความที่ใส่ความนั้นต้องหมิ่นประมาทด้วยกล่าวคือโดยประการ ที่น่าจะทำให้ผู้ถูกใส่ความนั้นเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังซึ่งลักษณะ ของการกระทำเป็นเพียง “น่าจะ” เท่านั้น ไม่ต้องให้ผู้รับฟัง หรือบุคคลที่สาม เกลียดชังผู้ถูกดูหมิ่น ก็ใช้ได้ ถือว่าผิดกฏหมายแม้บุคคลที่สาม จะไม่เชื่อข้อความ ก็ตาม ข้อความที่กล่าวจะผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาทั้งหมดรวม ๆกัน ถ้ารวมกัน ทั้งหมดแล้ว เป็นหมิ่นประมาทก็ผิด ไม่ใช่พิจารณาตอนใด ตอนหนึ่ง  แต่คำกล่าวข้อความตอนต้นเป็นหมิ่นประมาทแล้ว แม้ตอนหลังจะไม่เป็น หมิ่นประมาทก็ผิด

ตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกา 

         - หนังสือพิมพ์ ลงข่าวอดีตกำนันถูกฟ้องศาล พิจารณาคดีขบถ แต่ลงรูปถ่ายและข้อความว่า “คนขายชาติอดีตกำนัน ย.” เมื่อถูกตีแผ่ เป็นลมกลางศาล   ข้อความตอนนี้แยกเป็นคนละตอนต่างหากจากตอนแรก เป็นถ้อยคำของหนังสือพิมพ์เองอธิบายภาพว่า ย. ขายชาติซึ่งความจริง ย. เพียงแต่ถูกฟ้อง เป็นความผิด ตามมาตรา 326
         - กล่าวถึงผู้พิพากษาว่า "ถ้ามันจะกินไข่ของเขาเข้าไป” หมายความว่า ผู้พิพากษารับสินบน ผิดฐานหมิ่นประมาท
         - กล่าวว่า “นายกเทศมนตรีกินเนื้อ น. วันละ 8 กิโล” ผิดฐานหมิ่น ประมาท
         - กล่าวว่า “คุณติดตะรางเรื่องอะไร” แสดงว่าต้องโทษจำคุกมาแล้ว ผิดฐานหมิ่นประมาท
         -ข้อความในหนังสือพิมพ์ว่า “ท.เป็นสาวก้นแฉะ” บรรยายความในฟ้อง ด้วยว่าหมายความว่าชอบร่วมประเวณีกับชายทั่วไปจำเลย ให้การรับสารภาพ เป็นหมิ่นประมาท
         การกล่าวข้อความบางทีมองผิวเผิน อาจเข้าใจได้ว่าผิดกฏหมาย ฐานหมิ่นประมาท แต่จริง ๆ แล้วไม่ผิด ต้องผิดเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น เป็นเพียง คำพูดไม่สุภาพ เป็นคำกล่าวลอย ๆ ไม่ยืนยันข้อเท็จจริง พูดกล่าวในสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ คำด่าทั่วไป แม้เป็นไปในทางเสื่อมเสียทำให้ผู้ถูกด่าโกรธ โมโห เจ็บใจ ไม่เป็นหมิ่นประมาท ไม่ใช่ว่าถ้ามีการด่าก็ผิดฐานหมิ่นประมาท (แต่อาจผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าได้)

 ตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกา 

         - กล่าวว่า ทำไม่ชอบด้วยศีลธรรมไม่เป็นหมิ่นประมาท
         - ว่า ประพฤติเลวทรามที่สุดทั้งการกระทำและคำพูด ไม่เป็นหมิ่นประมาท
         - เป็นคนนิสัยไม่ดี มีความรู้สึกต่ำไม่เป็นหมิ่นประมาท
         - อย่าเอาไม้ไปแหย่ขี้ เป็นแต่คำเปรียบเทียบ ไม่สุภาพ
         - กล่าวข้อความว่า เป็นผีปอบ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แม้คนบางกลุ่มจะ เชื่อ แต่ต้องถือตามความเข้าใจของคนทั่วไป ไม่เป็นหมิ่นประมาท   แต่หากกล่าวว่า “เวลาผัวไม่อยู่ มีชู้ตั้งร้อยอันพันอัน” หมายความว่า ประพฤติเลวทรามทางประเวณี ไม่ใช่กรณีกล่าวในเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เป็นหมิ่นประมาท
         - กล่าวว่า อ้ายเหี้ย อ้ายสัตว์ อ้ายชาติหมา เป็นคำด่า หมายความว่า เลวทราม ไม่ใช่ใส่ความหมิ่นประมาท
         - กล่าวว่า พระเป็นจิ้งเหลือง คือสัตว์ห่มผ้าเหลือง เป็นดูหมิ่น ไม่ใช่หมิ่นประมาท ถ้าคำด่ามีการหมิ่นประมาทรวมไปด้วยก็ผิดกฏหมายหมิ่น ประมาทได้ เช่น
         - ป. ข. ก. ด่ากัน ง. พี่ ก. เข้าช่วยด่า ป. ว่า “อีชาติดอกทอง คบกับ พี่กูที่ปากสระ ลูกของมึงคนหนึ่งเป็นลูกของผัวกู” เป็นหมิ่นประมาท
         - ล. ด่า ส. ว่า “อีส่องทำชู้กับผัวกู” พ่อแม่มันคบกับสัตว์กับหมา เป็นคำด่ามีข้อความหมิ่นประมาทรวมอยู่ด้วย
         - ด่ากับคนหนึ่ง แล้วเลยกล่าวไปถึงน้องของเขาว่ามีท้องรีดลูก เป็นหมิ่นประมาท
         - ด่าว่า “อีดอกทอง อีหน้าด้าน กะหรี่เถื่อน พวกมึง 3 คน แม่ลูกเป็น กะหรี่เถื่อน ให้เขาเอา 3 คน 50 บาท มีเงินก็เอาได้ ไม่มีเงินก็เอาได้” เป็นหมิ่นประมาท
         - มีคนบอก ส. ว่า พ. แอบดูเห็น ส. ร่วมประเวณีกับ ช. ส. ไปถาม พ. แล้ว พูดโต้ตอบเถียงกันว่าเห็นจริงหรือไม่ พ. พูดอีกว่ามึงเอากันจริง แล้ว ยังจะมาพาลหาเรื่องอีกดังนี้ พ. ไม่เพียงแต่ตอบคำถามของ ส. แต่เมื่อเถียง กันแล้ว ยังยืนยันอีก เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
         - กล่าวในการทะเลาะโต้เถียงตอบโต้ย้อนซึ่งกันและกัน ไม่เป็นผู้เสียหาย ร้องทุกข์และฟ้องไม่ได้
         การหมิ่นประมาท ต้องเป็นการใส่ความและมีพฤติกรรม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง
         การเสียชื่อเสียง อาจหมายความว่าทำให้คนอื่น มองไปในทางไม่ดี ลดคุณค่า ความเชื่อถือ นับถือลง เช่น
         - กล่าวว่า พระวัดนี้ดูหนัง เลวมาก บ้าผู้หญิง ไม่มีศีล เป็นหมิ่นประมาท ทำให้ถูกดูหมิ่น   ถูกเกลียดชัง เป็นความหมายตามธรรมดา ไม่ได้จำกัด แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง

ตัวอย่างตามพิพากษาศาลฎีกา 

         - ด. กล่าวว่า ย. เป็นคนโกงเอาสัญญาปลอมมาฟ้อง จะต้องฟ้อง ย. ให้ติดคุก เป็นหมิ่นประมาท
         - กล่าวว่า ง. ใช้คนไปลักเสาและเป็นคนทนสาบาน เป็นหมิ่น ประมาท
         - กล่าวว่า ผู้เสียหายลักของจำเลยเป็นหมิ่นประมาท
         - กล่าวว่าให้และรับสินบน เป็นหมิ่นประมาท
         - ลงรูปถ่ายและข้อความหนังสือพิมพ์ ประกาศข้อหายักยอก ให้นำส่งสถานีตำรวจ แสดงว่าโจทก์ทุจริต จำเลยรู้ว่าโจทก์รับราชการ นำหมายจับ จับได้แน่นอน การโฆษณาเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เป็นประโยชน์แก่ ประชาชนแม้ตำรวจออกหมายจับตามที่จำเลยร้องทุกข์จริงก็เป็นผิดมาตรา 328
         - ซ. ชี้หน้า ช. ว่า คนชาติชั่ว หากินเท่าไรก็ไม่เจริญ โกงเอาทรัพย์สมบัติ เป็นหมิ่นประมาท
         ข้อความบางข้อความเป็นการกล่าวลอย ๆ ไม่รุนแรง ไม่ทำให้ถูก เสียชื่อเสียง  ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังก็ไม่เป็นหมิ่นประมาท

ตัวอย่างตามคำพิากษาศาลฎีกา 

         - ช. นายอำเภอพูดว่า ง. ว่า,อีหน้าเลือด ไม่ปรานีคนจน ไม่เป็น หมิ่นประมาท
         - กล่าวเป็นคำถามว่า พ. ถูกเรียกชื่อพระราชทานคืนไม่ใช่หรือ ไม่เป็นคำใส่ร้ายไม่เข้าใจได้ว่า ประพฤติไม่ดีอย่างไร หรือทำชั่วร้าย
อย่างไร ไม่เป็นหมิ่นประมาท
         - พูดว่าการกระทำขอ น. ไม่ชอบด้วยศีลธรรม  ย่อมแล้วต่อการ กระทำนั้น หากไม่ระบุการกระทำเป็นการเลื่อนลอย ไม่รู้ว่าชั่วอย่างไร ไม่เป็นหมิ่นประมาท
         - ฟ้องบรรยายว่า ซ. กล่าวว่า ซ. ได้มอบเงินให้ ป. 150 บาท ไปถวาย พระ แต่ความจริงไม่ได้มอบ ดังนี้เป็นแต่ ซ. กล่าวเท็จ ไม่กล่าวหมิ่นประมาท ป.
         - เขียนจดหมายถึง ก. กล่าวว่า ข. ประพฤติเลวทรามที่สุดทั้งการกระทำ และคำพูดไม่ได้หมายความว่า ข.ลักทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ไม่เป็นหมิ่นประมาท
         - พระธุดงค์เข้าไปอยู่ในป่า เจ้าอาวาสไล่ชาวบ้านพอใจบ้างไม่พอใจบ้าง ล. กล่าวต่อหน้าประชาชนว่า “หลวงพ่อวัดนี้เอาประชาชนบังหน้าต่อต้านพระ ที่ป่าช้า” ไม่รุนแรงถึงเป็นหมิ่นประมาท
         -  ลงหนังสือพิมพ์ว่า อ. ไม่มีชื่อในทำเนียบนักข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ถ้า อ. ไปอ้างที่ไหนว่า อ. เป็นนักข่าวให้แจ้งตำรวจจับได้เลย ไม่เป็นหมิ่นประมาท
          ต่อไปนี้เป็น
ตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นหมิ่นประมาท 

         - ลงข้อความในหนังสือพิมพ์ว่า ไอ้เสี่ยวบ้ากาม  หมายถึงโจทก์มักมาก ในวิสัยปุถุชนทั่วไป
         - กล่าวหญิงมีสามีเป็นชู้กับชายอื่น
         - กล่าวว่า พี่น้องร่วมบิดามารดาได้เสียกันจนมีครรภ์ต้องทำแท้ง
         - กล่าวว่า พี่หร่ำ ระวังลูกสาวจะท้องโตหมายความว่าลูกสาวคบชู้สู่ชาย
         - กล่าวว่า ข้าราชการหญิงเป็นกะหรี่ที่ดิน
         - กล่าวว่ากำนันประพฤติตนไม่สมควรแก่หน้าที่ส่งเสริมลูกบ้านให้มีคดี อวดอ้างสนิทชิดชอบกับตุลาการและธุรการหลอกเอาเงินกินนอกกินเหนือ ทำให้ราษฎรเดือดร้อนอย่างแรง
         - กล่าวว่ากำนันเกเร กำนันเกะกะ กำนันเป็นผู้ร้าย
         - ว่ากรมอากาศยานเสียดายเครื่องบินยิ่งกว่าชีวิตมนุษย์
         - ว่าสมเด็จพระสังฆราชสั่งสึกพระ อ. ก่อกรรมแก่พวกสามเณร ไม่รับ สามเณร ณ. ไว้ในอาวาส ไม่รับที่ดินเป็นธรณีสงฆ์ ประพฤติผิดหลักธรรม ผู้ใหญ่ ริษยา อาธรรม์ ถืออำนาจเป็น ธรรมไม่ละอายแก่บาป
         - ว่าพระจับมือ กอด เอาหญิงนั่งตัก
         - ว่าผู้พิพากษากินเลี้ยงฉลองกับผู้ชนะคดี ในเย็นวันที่ตอนตัดสินคดีนั้น หมายความในทำนองว่าพิพากษาคดีโดยไม่สุจริต
         - ว่าปลัดอำเภอช่วยผู้ต้องหามิให้ต้องรับโทษ ขู่พยานไม่ให้ยันผู้ต้องหา
         - ว่านายอำเภอเป็นเสือผู้หญิงไปตรวจราชการเที่ยวเอาผู้หญิงเป็นเมีย
         - ว่าตำรวจจับในข้อหามีไม้ขีดไฟผิดกฎหมายควบคุมแล้วเรียกเอาเงิน
         - ว่าตำรวจสอบสวนไม่ยุติธรรม จดคำพยานไม่ตรง
         - กล่าวว่า ข. ซึ่งเป็นข้าราชการโกงบ้านโกงเมือง
         - ผู้สมัครรับเลือกตั้งออกแถลงการณ์ว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นนายก เทศมนตรี บริหารงานบกพร่องมากจนสมาชิกไม่สนับสนุน เทศมนตรี ลาออก ฐานะการเงินทรุดหนักเป็นเลศนัยให้เข้าใจในทางอกุศล มีมูลเป็น หมิ่นประมาท
         - ว่าโจทก์ไม่อุทิศเวลาให้แก่ราชการมาสายเป็นประจำไม่ทำตามคำสั่ง ผู้บังคับบัญชา ทำให้ข้าราชการแตกความสามัคคี
         - ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดประพฤติตนอย่างไร้ศีลธรรม มีส่วนพัวพันเป็น ผู้จ้างคนฆ่านักข่าวใช้อำนาจในทางที่ผิดเป็นหมิ่นประมาท
         - ว่าหลบหนีเจ้าหนี้แสดงว่า ตั้งใจบิดพริ้วไม่ชำระหนี้ เป็นหมิ่นประมาท
         - เจ้าหนี้ปิดประกาศว่า แจ้งความให้พี่น้องทั้งหลายทราบ ล. ติด 53 สตางค์ ติด 1 ปี...ขอให้คิดว่าอาย  ดังนี้อาจทำให้เข้าใจว่า ล. เป็นคนที่เชื่อถือ ไม่ได้ แม้เป็นหนี้เล็กน้อยก็ปล่อยให้ค้างเป็นแรมปี เป็นหมิ่นประมาท
         - หนังสือพิมพ์ลงข้อความว่า จ. ออกเช็คจ่ายเงิน 1 ล้านบาท ไม่มีเงิน ธนาคารงดจ่ายเงิน จ. เป็นนายกเทศมนตรี และทำการค้าเป็นหมิ่นประมาท เป็นที่เข้าใจว่า จ. ฐานะการเงินไม่น่าเชื่อถือ

 ตัวอย่างที่ศาลได้เคยพิพากษาไว้ว่าไม่เป็นหมิ่นประมาท 

         - พูดว่า อ้ายครูชาติหมา สอนเด็กให้ต่อยกัน
         - กล่าว่า ด ซึ่งเป็นครูประชาบาลเป็นคนนิสัยไม่ดี มีความรู้สึกต่ำ เป็นการเลื่อนลอยไม่ทำให้เข้าใจว่าไม่ดีหรือต่ำอย่างไร
         - กล่าวว่า “ไอ้ทนายกระจอก ทนายเฮงซวย” เป็นการพูดดูหมิ่น เหยียดหยาม ให้อับอายเจ็บใจ ไม่เป็นการใส่ความให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ไม่เป็นหมิ่นประมาท
        - นายตำรวจกำลังเปรียบเทียบให้ ก. เสียค่าซ่อมรถที่ชนกัน ก. ว่า ผู้กองพูดอย่างนี้เอากฎหมายมาพูดไม่มีศีลธรรม
         - บ.โกรธ ม. ผู้อำนวยการโรงพยายาลจึงว่าผู้อำนวยการคนนี้ ใครว่าดี เดี๋ยวนี้ดีแตกแล้ว ไปติดต่อคนไข้มาก็ไล่...ใจร้อยยังกับไฟ...ถึงเจ็บ ก็จะไม่มารักษาที่นี่”   เป็นคำกล่าวที่ไม่สมควร ขาดคารวะ
         - กล่าวว่า  “นิคมเป็นตำรวจหมา ๆ บ่รู้จักอีหยังฯ”เป็นถ้อยคำไม่สุภาพ แต่ไม่ถึงทำให้เข้าใจว่าเป็นตำรวจเลวหรือ ไม่รับผิดชอบ ไม่เป็นหมิ่นประมาท
         - ผู้รับจำนองขอให้คนอื่นช่วยไกล่เกลี่ยให้ผู้จำนองไถ่จำนองเพื่อไม่ต้อง ฟ้องคดี แม้จะกล่าวว่าได้เตือนแต่เพิกเฉยไม่ชำระหนี้ไม่เป็นการใส่ความ
         - ประกาศเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ปิดที่ร้านและบ้านลูกหนี้ ที่ตู้ยาม ตำรวจ เพราะไม่พบตัวลูกหนี้ ส่งทางไปรษณีย์ก็ไม่มีคนรับ
         - ประกาศว่าโจทก์พ้นจากตำแหน่งประธานชมรมร้านขายยาแล้ว ถ้าผู้นี้ไปแอบอ้างชื่อชมรม ชมรมไม่รับผิดชอบ
         - ลงหนังสือพิมพ์เป็นประกาศสำนักงานทนายความให้ลูกหนี้ใช้หนี้ ภายใน 7 วัน นำสืบไม่ได้ว่าแกล้งโดยไม่สุจริต หลังจากทวงหลายครั้ง ยังเกี่ยวจำนวนหนี้กันอยู่ เป็นการที่เจ้าหนี้มีสิทธิทำได้ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 284 ไม่เป็นหมิ่นประมาท




ที่มา : คณะอาจารย์เผยแพร่วิชาการด้านกฎหมาย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
      :  สำนักงานกฎหมายพีศิริ ทนายความ    www.lawyerleenont.com


กฎหมายและจริยธรรมการสื่อสารมวลชน


    
  การกระทำของบุคคลใดที่ถือว่าเป็นการละเมิดผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ก็ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดสิทธิของผู้อื่นและจะต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายไดบัญญัติไว้นะคะ ดังนั้นเราไปเรียนรู้กันเลย

กฎหมายว่าด้วยการกระทำละเมิด

การกระทำละเมิด
n ความรับผิดกรณีละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีด้วยกัน 3 หมวด ตั้งแต่มาตรา 420 ถึงมาตรา 452

ความผิดฐานละเมิด
n ความผิดฐานละเมิดที่สื่อมวลชนถูกฟ้องร้องดำเนินคดีเป็นประจำ คือ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และการละเมิดอำนาจศาล

n การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
          การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หมายถึงการที่บุคคลใช้เสรีภาพของตนมากเกินไปหรือใช้สิทธิของตนเกินขอบเขต จนไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น คือทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ได้รับผลกระทบจากการกระทำนั้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยเจตนา จงใจ หรือประมาทเลินเล่อก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 28 บัญญัติไว้ว่า 
              
                  บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนเท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
                  บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ในศาลได้
    

ความผิดฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
n มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
n ข้อฟ้องร้องที่สื่อมวลชนพบมากที่สุดคือ ข้อหาละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเกี่ยวกับความผิดที่ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายต่อสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หมายถึง สิทธิที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง เช่น สิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัว สิทธิในครอบครัว สิทธิในเกียรติยศชื่อเสียง   
                     
องค์ประกอบความผิด
n กระทำการโดยผิดกฎหมาย
n เป็นการล่วงละเมิดในสิทธิของผู้อื่น ตามที่กฎหมายรับรอง
n กระทำการโดยจงใจ
n เป็นการกระทำโดยเจตนา
n หรือประมาทเลินเล่อ
n เป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังอย่างเพียงพอ
n  นอกจากนี้ กฎหมายยังได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ในมาตรา 421 ว่า
      การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดการเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย

n มาตรา 421 นี้ บัญญัติขึ้นมาเพื่อป้องกันการแก้ตัวของบุคคล โดยเฉพาะสื่อมวลชนที่มักจะอ้างสิทธิและเสรีภาพที่ตนเองมีอยู่ โดยเฉพาะการอ้างสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 395859 หรือการอ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ตลอดจนการอ้างสิทธิและเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ที่ต้องนำเสนอข้อมูลหรือเปิดเผยความจริงต่อสาธารณชน แต่การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนก็ต้องมีเสรีภาพอยู่ในขอบเขตเช่นเดียวกัน คือต้องไม่ไปล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น จนทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย
n การใช้สิทธิแห่งตนทุกคนต้องทำการโดยสุจริต
n การพิจารณาว่าการใช้สิทธิเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือไม่ มีดังนี้
n ทำเกินกว่าสิทธิหรือไม่
n ถ้าไม่เกิน ได้ใช้สิทธิของตนโดยเจตนากลั่นแกล้งหรือไม่
n เช่น การเปิดโปงสถาบันการเงิน A เรื่องขาดสภาพคล่อง เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปตรวจสอบและควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน แม้สถาบันการเงินนั้นจะเสียหาย ก็ไม่ถือเป็นการละเมิด

การละเมิดอันเกิดจากการหมิ่นประมาท
มาตรา 423 ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่การทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายต่าง ๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้                      ผู้ใดส่งข่าวสาสน์อันตนมิได้รู้ว่าเป็นความจริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสาสน์เช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
n  ข้อความตามมาตรา 423 นี้ มีความหมายใกล้เคียงกับความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ต่างกันเพียงการรับผิดซึ่งต้องรับผิดโดยการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งมิได้ระบุจำนวนไว้ แต่ความผิดทางอาญานั้นโทษมีทั้งการจำคุกและการปรับ ดั้งนั้น ผู้เสียหายจึงสามารถฟ้องได้ทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบมักจะฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งเป็นจำนวนเงินหลายล้านบาท
          สื่อมวลชนไม่มีสิทธิ์จะแก้ตัวว่าข้อความหรือภาพที่ตนได้นำเสนอไปนั้น กระทำไปเพราะความไม่รู้ เช่น แหล่งข่าวอาจให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงแก่ผู้สื่อข่าวเพื่อหวังทำลายชื่อเสียงของบุคคลนั้น ๆ สื่อมวลชนก็จะต้องร่วมรับผิดกับแหล่งข่าวคนนั้นด้วย จะแก้ตัวว่าไม่รู้ว่าสิ่งที่นำเสนอไปนั้นเป็นเรื่องเท็จไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้จะพบว่าเวลาที่เกิดการฟ้องร้องขึ้น ผู้เสียหายหรือโจทก์มักจะฟ้องแหล่งข่าวเป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องสื่อมวลชนเป็นจำเลยที่ 2 หรือ 3 แล้วแต่กรณี
n ไขข่าว หมายถึง พูดตามคนอื่นที่ได้ยินมา
n การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ให้หมายความรวมถึง การนำเอกสารหรือสิ่งที่ปรากฏด้วยตัวอักษร สิ่งที่กระจายเสียงมาเผยแพร่ต่อไปให้คนอื่นรู้
n ความเสียหายตามมาตรานี้ มี 2 กรณีคือ
n ความเสียหายต่อสิทธิในชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ
n ความเสียหายต่อสิทธิในทางทำมาหาได้หรือทางเจริญโดยประการอื่น

n มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิด
n มาตรานี้ ถือเป็นการรับผิดจากการละเมิด ซึ่งศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าจะให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์อย่างไร ซึ่งค่าสินไหมทดแทนนั้นอาจคำนวณเป็นเงินได้ เช่น การชดใช้เป็นราคาทรัพย์สินที่เสียหาย และบางกรณีก็ไม่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ โดยเฉพาะความเสียหายต่อชื่อเสียง เกียรติยศ แต่ก็อาจต้องชดใช้เป็นจำนวนเงินเช่นกัน ซึ่งเราจะพบอยู่เสมอว่าผู้เสียหายจากการละเมิดมักจะเรียกร้องค่าเสียหายเงินเป็นจำนวนเงินแตกต่างกันไป บางรายเรียกร้องค่าเสียหายนับพันล้านบาท ซึ่งค่าสินไหมทดแทนนี้ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าจะต้องชดใช้อย่างไร หรือชดใช้เป็นจำนวนเงินเท่าใด  

n มาตรา 447 บุคคลใดทำให้เขาต้องเสียหายแก่ชื่อเสียง เมื่อผู้ต้องเสียหายร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นจัดการตามสมควร เพื่อทำให้ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีแทนให้ใช้ค่าเสียหายด้วยก็ได้
n สำหรับกรณีละเมิดโดยการกล่าวหรือไขข่าวที่ไม่เป็นความจริง ตามมาตรา 423 ผู้เสียหายอาจร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ทำการละเมิดชดเชยความเสียหายโดยการทำให้ชื่อเสียงกลับคืนมาด้วยวิธีอื่น ๆ นอกเหนือจากการชดใช้ด้วยจำนวนเงินแล้วก็ได้ เช่น ให้ลงข้อความขอขมาทางหน้าหนังสือพิมพ์ หรือลงประกาศด้วยวิธีการอื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนรู้ความจริง ดังนั้น ผู้เสียหายอาจให้ผู้ละเมิดชดใช้ค่าสินไหม หรือบรรเทาความเสียหายให้ชื่อเสียงกลับมาด้วยวิธีอื่น ๆ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรือจะให้ทั้งชดใช้ค่าสินไหมและกระทำโดยวิธีอื่น ๆ เพื่อให้ชื่อเสียงกลับมาด้วยก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาล

n มาตรา 448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่ง นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด
n หมายความว่า หากจะมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจะต้องกระทำภายในหนึ่งปี นับแต่ผู้เสียหายได้รู้ว่ามีการละเมิดเกิดขึ้น เช่น หนังสือพิมพ์ ก ฉบับวันที่ 1 มกราคม 2548 ได้ทำการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของ นาย ข โดยนำภาพนู้ดที่นาย ข ถ่ายไว้ดูเล่นไปตีพิมพ์ลงหน้าหนึ่งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนาย ข แต่ นาย ข เพิ่งจะมาเห็นภาพดังกล่าวเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 จึงได้นำไปฟ้องเรียกค่าเสียหาย ดังนั้น คดีนี้จึงยังไม่ขาดอายุความถึงแม้เวลาจะล่วงเลยมาปีกว่าก็ตาม เพราะนาย ข เพิ่งจะได้เห็นภาพของตนเองลงหนังสือพิมพ์ แต่ถ้ามีหลักฐานว่านาย ข ได้เห็นภาพของตนแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 แต่ไม่ฟ้องร้อง จนปล่อยให้เวลาผ่านมาถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 จึงจะนำมาฟ้องร้อง ก็ถือว่าขาดอายุความ เพราะเกินหนึ่งปีไปแล้ว
n นอกจากนี้  เพื่อป้องกันข้อแก้ตัวของผู้เสียหายว่าได้รับรู้ถึงการละเมิดเมื่อใดกันแน่ และการใช้เวลาสืบหาพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อให้รู้ตัวผู้ทำการละเมิด กฎหมายจึงกำหนดให้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายภายในสิบปี นับแต่วันทำละเมิด ดังนั้น หากหนังสือพิมพ์ ก ได้ละเมิดนาย ข เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548 คดีนี้จะขาดอายุความวันที่ 1 มกราคม 2558 คือนาย ข ต้องดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ ให้เสร็จสิ้นภายในช่วงเวลาระหว่าง 1 มกราคม 2548 - 31 ธันวาคม 2558
n สำหรับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่พบมากที่สุดในสื่อมวลชน โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ ได้แก่ การนำภาพนู้ดหรือภาพลับเฉพาะของบุคคลที่มีชื่อเสียงมาตีพิมพ์โดยไม่ได้รับอนุญาต การบุกรุกเข้าไปทำข่าวหรือถ่ายภาพในสถานที่พักอาศัยของแหล่งข่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต

n การละเมิดตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535
n บทบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 มาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าว คือ มาตรา 101 ซึ่งระบุไว้ดังนี้
n มาตรา 101 ผู้ใดแพร่หรือไขข่าวที่ไม่เป็นความจริงเกี่ยวกับอันตรายจากแหล่งกำเนิดมลพิษใด โดยมีเจตนาที่จะทำลายชื่อเสียงหรือความไว้วางใจของ สาธารณชนต่อการดำเนินกิจการโดยชอบด้วยกฎหมายของแหล่งกำเนิดมลพิษนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
            หากการแพร่หรือไขข่าวตามวรรคหนึ่งกระทำโดยการประกาศโฆษณาหรือออกข่าวทางหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอย่างอื่น ผู้กระทำผิดดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

n บทบัญญัติของกฎหมายตามมาตรานี้ มีความเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 46 และ 56 ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษา อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติสุขในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของตน และเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 58 และ 59 ในเรื่องของสิทธิที่ประชาชนจะได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร คำชี้แจง และเหตุผลต่าง ๆ จากหน่วยงานของรัฐก่อนการอนุญาตหรือดำเนินโครงการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ คุณภาพชีวิต และสามารถแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวได้
n ดังนั้น ผู้สื่อข่าวจึงต้องระมัดระวังในการนำเสนอข่าวหรือข้อมูล โดยมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบคอบ ทั้งข้อมูลที่หาได้มาด้วยตนเอง หรือข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข่าว เพราะอาจมีการให้ข้อมูลเท็จเพื่อทำลายชื่อเสียงฝ่ายตรงข้ามก็เป็นได้

n การละเมิดอำนาจศาล
n การละเมิดอำนาจศาล คือการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือการฝ่าฝืนคำสั่งของศาล เพราะคำวินิจฉัยของศาลถือเป็นเด็ดขาด ซึ่งคำสั่งของศาลถือเป็นอำนาจสูงสุดที่สื่อมวลชนไม่สามารถอ้างสิทธิเสรีภาพหรือการทำหน้าที่เพื่อเผยแพร่ข่าวหรือโฆษณาด้วยวิธีใด ๆ ได้
n กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดอำนาจศาล ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีมาตราสำคัญที่ผู้สื่อข่าวโดยเฉพาะผู้สื่อข่าวสายอาชญากรรมและผู้สื่อข่าวศาลจำเป็นต้องรู้และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
n มาตรา 32 ผู้ใดเป็นผู้ประพันธ์ บรรณาธิการ หรือผู้พิมพ์โฆษณาซึ่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อันออกโฆษณาต่อประชาชน ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะได้รู้ถึงซึ่งข้อความหรือการออกโฆษณาแห่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่านั้นหรือไม่ ให้ถือว่าได้กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างดังจะกล่าวต่อไปนี้
            (1) ไม่ว่าเวลาใด ๆ ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่ามานั้นได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ซึ่งข้อความหรือความเห็นอันเป็นการเปิดเผยข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์อื่น ๆ แห่งคดี หรือกระบวนการพิจารณาใด ๆ แห่งคดี ซึ่งเพื่อความเหมาะสมหรือเพื่อคุ้มครองสาธารณประโยชน์ ศาลได้มีคำสั่งให้พิจารณาโดยไม่เปิดเผย หรือโดยวิธีห้ามการออกโฆษณาโดยชัดแจ้ง
(2) ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ ได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ในระหว่างการพิจารณาแห่งคดีไปจนมีคำพิพากษาเป็นที่สุด ซึ่งข้อความหรือความเห็นโดยประสงค์จะให้มีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชน หรือเหนือศาลหรือเหนือคู่ความ หรือเหนือพยานแห่งคดีซึ่งพอเห็นได้ว่าจะทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรมไป เช่น
                        ก. เป็นการแสดงผิดจากข้อเท็จจริงแห่งคดี หรือ
                        ข. เป็นรายงานหรือย่อเรื่องหรือวิภาค ซึ่งกระบวนการพิจารณาแห่งคดีอย่างไม่เป็นกลางและไม่ถูกต้อง หรือ
                        
 ค. เป็นการวิภาคโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งการดำเนินคดีของคู่ความ หรือคำพยานหลักฐาน หรือนิสัยความประพฤติของคู่ความหรือพยาน รวมทั้งการแถลงข้อความอันเป็นการเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของคู่ความหรือพยาน แม้ถึงว่าข้อความเหล่านั้นจะเป็นความจริง หรือ
                        ง. เป็นการชักจูงให้เกิดมีคำพยานเท็จ
            เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้นำวิเคราะห์ศัพท์ทั้งปวงในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2476 มาใช้บังคับ
n สาระสำคัญตามมาตรา 32 คือ สื่อมวลชนห้ามนำข้อมูลที่ศาลพิจารณาเป็นความลับและสั่งห้ามเปิดเผยมานำเสนอโดยเด็ดขาด สำหรับข้อมูลที่สามารถนำเสนอได้นั้นจะต้องไม่ผิดจากข้อเท็จจริง ต้องนำเสนออย่างเป็นกลางและถูกต้อง ข้อมูลที่นำเสนอต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อคู่ความและพยาน นอกจากนี้ การนำเสนอข่าวจะต้องไม่เป็นการชักจูงให้เกิดพยานเท็จ สำหรับวรรคสุดท้ายของมาตรา 32 นั้น จะต้องนำพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาบังคับใช้แทน เนื่องจากพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2476 ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว

n มาตรา 33 คู่ความฝ่ายใดหรือบุคคลใดกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลใด ให้ศาลนั้นมีอำนาจสั่งลงโทษโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือทั้งสองวิธีดังจะกล่าวต่อไปนี้
            (ก) ไล่ออกจากบริเวณศาล หรือ
            (ข) ให้ลงโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ
การไล่ออกจากบริเวณศาลนั้นให้กระทำได้ชั่วระยะเวลาที่ศาลนั่งพิจารณาหรือภายในระยะเวลาใด ๆ ก็ได้ตามที่ศาลเห็นสมควร เมื่อจำเป็นจะเรียกให้ตำรวจช่วยจัดการก็ได้
            ในกรณีกำหนดโทษจำคุกและปรับนั้นให้จำคุกได้ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
n มาตรา 36 การนั่งพิจารณาคดีจะต้องกระทำในศาลต่อหน้าคู่ความที่มาศาลและโดยเปิดเผย เว้นแต่
            (1) ในคดีเรื่องใดที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในศาล เมื่อศาลได้ขับไล่คู่ความฝ่ายใดออกไปเสียจากบริเวณศาลโดยที่ประพฤติไม่สมควร ศาลจะดำเนินการนั่งพิจารณาคดีต่อไปลับหลังคู่ความฝ่ายนั้นก็ได้
            (2) ในคดีเรื่องใด เพื่อความเหมาะสม หรือเพื่อคุ้มครองสาธารณประโยชน์ ถ้าศาลเห็นสมควรจะห้ามมิให้มีการเปิดเผยซึ่งข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ต่าง ๆ ทั้งหมด หรือบางส่วนแห่งคดีซึ่งปรากฏจากคำคู่ความหรือคำแถลงการณ์ของคู่ความ หรือจากคำพยานหลักฐานที่ได้สืบมาแล้วศาลจะมีคำสั่งดังต่อไปนี้ก็ได้
(ก) ห้ามประชาชนมิให้เข้าฟังการพิจารณาทั้งหมดหรือบางส่วน แล้วดำเนินการพิจารณาไปโดยไม่เปิดเผย หรือ   (ข) ห้ามมิให้ออกโฆษณาข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ต่าง ๆ เช่นว่านั้น
            
 ในบรรดาคดีทั้งปวงที่ฟ้องขอหย่าหรือฟ้องชายชู้หรือฟ้องให้รับรองบุตร ให้ศาลห้ามมิให้มีการเปิดเผยซึ่งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ใด ๆ ที่ศาลเห็นเป็นการไม่สมควร หรือพอจะเห็นได้ว่าจะทำให้เกิดการเสียหายอันไม่เป็นธรรมแก่คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
            ไม่ว่าศาลจะได้มีคำสั่งตามอนุมาตรา (2) นี้หรือไม่ คำสั่งหรือคำพิพากษาชี้ขาดคดีของศาลนั้น ต้องอ่านในศาลโดยเปิดเผยและมิให้ถือว่าการออกโฆษณาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแห่งคำพิพากษานั้น หรือย่อเรื่องแห่งคำพิพากษาโดยเป็นกลางและถูกต้องนั้นเป็นผิดกฎหมาย
n (ก) ห้ามประชาชนมิให้เข้าฟังการพิจารณาทั้งหมดหรือบางส่วน แล้วดำเนินการพิจารณาไปโดยไม่เปิดเผย หรือ            (ข) ห้ามมิให้ออกโฆษณาข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ต่าง ๆ เช่นว่านั้น
            
 ในบรรดาคดีทั้งปวงที่ฟ้องขอหย่าหรือฟ้องชายชู้หรือฟ้องให้รับรองบุตร ให้ศาลห้ามมิให้มีการเปิดเผยซึ่งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ใด ๆ ที่ศาลเห็นเป็นการไม่สมควร หรือพอจะเห็นได้ว่าจะทำให้เกิดการเสียหายอันไม่เป็นธรรมแก่คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
            ไม่ว่าศาลจะได้มีคำสั่งตามอนุมาตรา (2) นี้หรือไม่ คำสั่งหรือคำพิพากษาชี้ขาดคดีของศาลนั้น ต้องอ่านในศาลโดยเปิดเผยและมิให้ถือว่าการออกโฆษณาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแห่งคำพิพากษานั้น หรือย่อเรื่องแห่งคำพิพากษาโดยเป็นกลางและถูกต้องนั้นเป็นผิดกฎหมาย

n ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
n มาตรา 177 ศาลมีอำนาจสั่งให้พิจารณาเป็นความลับ เมื่อเห็นสมควร โดยพลการหรือโดยคำร้องขอของคู่ความฝ่ายใด แต่ต้องเพื่อประโยชน์แห่งความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันความลับอันเกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศมิให้ล่วงรู้ถึงประชาชน
n ในกรณีนี้ หากผู้สื่อข่าวละเมิดอำนาจศาลโดยการนำข้อมูลที่ศาลพิจารณาเป็นความลับมาเปิดเผย ซึ่งข้อมูลที่นำมาเปิดเผยนั้นอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นความลับของประเทศชาติ จะต้องได้รับโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33  ซึ่งอาจจะเป็นโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ

n ความผิดเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน
n  ปัจจุบันมีเหตุการณ์และคดีความต่าง ๆ เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนเกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งคดีที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำความผิด และคดีที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้ถูกกระทำ คดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนเหล่านี้ กฎหมายไม่สามารถตัดสินให้เด็กหรือเยาวชนได้รับโทษหนักหรือถึงขั้นประหารชีวิตได้ เพราะมีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองเด็กและเยาวชนอยู่ คือ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
n พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534
n เป็นกฎหมายที่รัฐออกมาเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของประเทศ เพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้คดีเกี่ยวกับครอบครัวซึ่งเป็นคดีที่มีความละเอียดอ่อนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับคดีเด็กและเยาวชน ได้รับการพิจารณาในศาลที่มีวิธีพิจารณาเป็นพิเศษแตกต่างจากคดีธรรมดา โดยมีการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวขึ้นแทนศาลคดีเด็กและเยาวชน  
n มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้            เด็ก  หมายความว่า  บุคคลอายุเกินเจ็ดปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกินสิบสี่ปีบริบูรณ์            เยาวชน  หมายความว่า  บุคคลอายุเกินสิบสี่ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์
n เด็กและเยาวชน ถือว่าเป็นบุคคลที่ไม่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ เป็นผู้มีวัยวุฒิและคุณวุฒิน้อย จึงอาจกระทำผิดได้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้น การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับคดีที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนของสื่อมวลชนจึงมีความแตกต่างจากคดีอื่น ๆ โดยทั่วไป
n ตามพระราชบัญญัตินี้ มีทั้งข้อห้ามและบัญญัติบางมาตราที่สื่อมวลชนต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการรายงานข่าวเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน
n มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้            เด็ก  หมายความว่า  บุคคลอายุเกินเจ็ดปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกินสิบสี่ปีบริบูรณ์            เยาวชน  หมายความว่า  บุคคลอายุเกินสิบสี่ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์
n เด็กและเยาวชน ถือว่าเป็นบุคคลที่ไม่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ เป็นผู้มีวัยวุฒิและคุณวุฒิน้อย จึงอาจกระทำผิดได้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้น การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับคดีที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนของสื่อมวลชนจึงมีความแตกต่างจากคดีอื่น ๆ โดยทั่วไป
n ตามพระราชบัญญัตินี้ มีทั้งข้อห้ามและบัญญัติบางมาตราที่สื่อมวลชนต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการรายงานข่าวเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน

n มาตรา 93 ห้ามมิให้ผู้ใดบันทึกภาพ แพร่ภาพ พิมพ์รูป หรือบันทึกเสียง แพร่เสียงของเด็กหรือเยาวชน ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด หรือโฆษณาข้อความซึ่งปรากฏในทางสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรือในทางพิจารณาคดีของศาลที่อาจทำให้บุคคลอื่นรู้จักตัว ชื่อตัว ชื่อสกุล ของเด็กหรือเยาวชนนั้น หรือโฆษณาข้อความเปิดเผยประวัติการกระทำความผิด หรือสถานที่อยู่ สถานที่ทำงาน หรือสถานศึกษาของเด็กและเยาวชนนั้น
            ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่การกระทำเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยได้รับอนุญาตจากศาลหรือการกระทำที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ทางราชการ
n สื่อมวลชนจึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติตามมาตรา 93 อย่างเคร่งครัด ดังที่เราได้เห็นการนำเสนอข่าวที่มีเด็กและเยาวชนเป็นผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์จำนวนมากทางสื่อมวลชน ซึ่งข้อมูลที่นำเสนอจะต้องมิให้ล่วงรู้ถึงตัวเด็กหรือเยาวชน ส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ชื่อสมมุติแทน ส่วนสถานที่อยู่ สถานศึกษา หรือสถานที่ทำงานจะนิยมระบุจังหวัดหรืออำเภอแทน สำหรับการนำเสนอภาพทางหนังสือพิมพ์จะนิยมปกปิดบริเวณใบหน้าโดยการใช้สีดำคาดทับบริเวณดวงตา หากเป็นสื่อวิทยุโทรทัศน์จะทำให้ภาพเบลอ หรือใช้วิธีการถ่ายด้านหลังหรือถ่ายในมุมมืดแทน
n มาตรา 98 ในการโฆษณาไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือซึ่งคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ห้ามมิให้ระบุชื่อ หรือแสดงข้อความ หรือกระทำการด้วยประการใด ๆ อันจะทำให้รู้จักตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล              
n  มาตรา 113 ในการโฆษณาไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือซึ่งคำคู่ความ ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ใด ๆ ในคดี หรือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีครอบครัว ห้ามมิให้ระบุชื่อหรือแสดงหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณ ของบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือถูกกล่าวถึงในคดี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล 
n จากมาตรา 98 และ 113 หมายความว่า สื่อมวลชนสามารถรายงานข่าวผลการพิจารณาคดี คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลได้ เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอย่างเคร่งครัด โดยข้อมูลหรือข่าวที่นำเสนอนั้นต้องไม่ให้รู้จักตัวเด็กและเยาวชน และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับคดี และต้องไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีด้วย ยกเว้นบางคดีที่ศาลจะอนุญาตให้สามารถนำเสนอรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมได้บ้าง หากเป็นคดีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล
n ดังนั้น หากผู้สื่อข่าวไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ถือว่าละเมิดอำนาจศาล ซึ่งมาตรา 131 ของพระราชบัญญัตินี้ ระบุไว้ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 93 มาตรา 98 หรือมาตรา 113 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
n การตราพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 นี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อระดมทรัพยากรทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมดูแล ปกป้อง คุ้มครองเด็ก โดยอาศัยการดำเนินงานแบบสหวิชาชีพเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก กฎหมายฉบับนี้ได้วางระบบการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพและการส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา และส่งเสริมหน้าที่ความรับผิดชอบของครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ในการร่วมมือกันคุ้มครองเด็กโดยไม่พึ่งทรัพยากรจากภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว

n พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
n สำหรับสาระสำคัญของพระราชบัญญัตินี้ มีมาตราที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สื่อข่าว ดังนี้
n มาตรา 4  เด็ก หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
n มาตรา 27  ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
n มาตรา 50  ห้ามมิให้ผู้ปกครองสวัสดิภาพหรือผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุล ภาพหรือข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับตัวเด็ก ผู้ปกครอง ในลักษณะที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณหรือสิทธิประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งของเด็กหรือผู้ปกครอง
            บทบัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยาและผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ ซึ่งได้ล่วงรู้ข้อมูลดังกล่าวเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วย โดยอนุโลม
            ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใดซึ่งข้อมูลที่เปิดเผยโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
n มาตรา 79 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 มาตรา 50 หรือมาตรา 61 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ                  
n จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 และ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ที่ยกมานำเสนอในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนนั้น มีแนวทางปฏิบัติที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งผู้สื่อข่าวจะต้องนำมาเป็นแนวทางในการทำข่าวเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน


ขอบคุณที่มา : จาก...เอกสารประกอบการสอนวิชา นท. 2107 กฎหมายและจริยธรรมการสื่อสารมวลชน