วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณา


ดิฉันมีเรื่องเกี่ยวกับกฎมายด้านการโฆษณา มานำเสนอให้คุณผู้อ่านได้่าน และศึกษาดูกันนะคะ

กฎหมายด้านการโฆษณา 

                ความจำเป็นของรัฐในการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคหากมองจากสภาพทางเศรษฐกิจคงจะเป็นผลสืบเนื่องจากระบบเศรษฐกิจเสรี (Laisser Fair) ซึ่งเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้เอกชนแข่งขันในทางการค้าโดยรัฐไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว จนกระทั่งเกิดการผูกขาดโดยระบบทุนและกำไรในการผลิต เกิดความคิดในการใช้งานโฆษณาเพื่อจำหน่ายสินค้าและบริการโฆษณาถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง ทุกวันนี้รัฐได้เล็งเห็นปัญหาและความเสียเปรียบที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคในการตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ รัฐมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อคุ้มครอง
สิทธิของผู้บริโภคไว้จึงได้ตรากฎหมายขึ้นและดำเนินการโดยฝ่ายปกครองเพื่อคุ้มครองสิทธิและเข้าไปดำเนินคดีที่สิทธิผู้บริโภคถูกละเมิด เพราะการโฆษณาได้ฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
 กฎหมายที่นักสื่อสารมวลชนหรือผู้ประกอบอาชีพโฆษณาควรรู้ ได้แก่
1. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541
2. พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 , 2518 , 2522
3. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
4. พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ. 2518
5. พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535
6. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

1.)  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2541 

ผู้บริโภคมีสิทธิจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 
 1.สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ 
 2.สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ 
 3.สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ 
 (3.ทวิ)สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา  2 
 4.สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย(มาตรา4) 


กฎหมายด้านการโฆษณายา 

2. )พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 
“ผู้อนุญาต” หมายความว่า 
1. เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย สำหรับการอนุญาตผลิตยา หรือการนำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร 
2. เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย สำหรับการขายยาในกรุงเทพมหานคร 
3. ผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับการอนุญาตขายยาในจังหวัดที่อยู่ในเขตอำนาจนอกจากกรุงเทพมหานคร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการยาตามพระราชบัญญัตินี้ 
ก. ข้อห้ามและระเบียบปฏิบัติ 
 พระราชบัญญัติยาได้วางบรรทัดฐานในการโฆษณาขายยาไว้ในหมวด 11 การโฆษณายามี ทั้งข้อห้าม แนวปฏิบัติ และบทลงโทษ หากมีการฝ่าฝืนตามบทบัญญัติ ดังนี้ 

 1. การโฆษณาขายยาจะต้อง 
   1.1 การโฆษณาจะต้องคำนึง 
            (1) ไม่เป็นการโอ้อวดสรรพคุณยาหรือวัตถุอันเป็นส่วนประกอบของยาว่าสามารถบำบัด บรรเทา 
รักษา หรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยได้ อย่างศักดิ์สิทธิ์ หรือหายขาด หรือใช้ถ้อยคำอื่นใดที่มี
ความหมายทำนองเดียวกัน 
             (2) ไม่แสดงสรรพคุณยาอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง 
             (3) ไม่ทำให้เข้าใจว่าวัตถุใดเป็นตัวยาหรือส่วนประกอบของยา ซึ่งความจริงไม่มีส่วนประกอบหรือวัตถุ
นั้นในยาหรือมีแต่ไม่ทำที่เข้าใจผิด 
             (4) ไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาทำให้แท้งลูก หรือยาขับระดูอย่างแรง 
             (5) ไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาบำรุงกามหรือคุมกำเนิด 
             (6) ไม่แสดงสรรคุณอันตราย หรือยาคุมพิเศษ 
             (7) ไม่มีการรับรองหรือยกย่องสรรพคุณยาโดยบุคคลอื่น 
             (8) ไม่แสดงสรรพคุณยาว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคหรืออาการของโรคที่รัฐมนตรี
ประกาศตามมาตรา 77  
  1.2 ห้ามมิให้โฆษณาขายยาโดยไม่สุภาพหรือการร้องรำทำเพลง หรือแสดงความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย(มาตรา 89)  
 1.3 ห้ามมิให้มีการโฆษณาขายยาโดยวิธีแถมพกหรือออกสลากรางวัล (มาตรา 90)

 2. วิธีปฏิบัติในการโฆษณา  การโฆษณาขายยาทางวิทยุกระจายเสียง เครื่องขยายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพหรือทางภาพยนตร์หรือทางสิ่งพิมพ์จะต้อง         
  (1) ได้รับอนุญาตข้อความเสียง หรือภาพที่ใช้ในการโฆษณาจากผู้อนุญาต           
  (2) ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้อนุญาตกำหนด (มาตรา 88 ทวิ) 

3. อำนาจการสั่งการ  เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ระงับการโฆษณาขายยาที่เห็นว่าเป็นการโฆษณาโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ได้ (มาตรา 90 ทวิ) 
ข. บทกำหนดโทษ 
 หากผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้าม แนวทางปฏิบัติจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ดังนี้ 
 (1) ผู้ใดโฆษณาขายยาโดยฝ่าฝืนมาตรา 88 มาตรา 88 ทวิ มาตรา 89 และมาตรา 90 ต้องระวางโทษ
จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 124) 
 (2) ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการโฆษณาขายยาของคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งสั่งตามมาตรา 90 
ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและให้ปรับ
รายวันอีกวันละห้าร้อยจนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว (มาตรา 124 ทวิ)

กฎหมายด้านการโฆษณาอาหาร 

3.) พระราชบัญญัติว่าด้วยอาหาร พ.ศ. 2522 
 ข้อห้ามและระเบียบปฏิบัติ เพื่อควบคุมให้มีการโฆษณาไม่เป็นพิษภัยต่อผู้บริโภค พระราชบัญญัตินี้จึงได้กำหนดไว้ว่า  
              1.ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ หรือเป็นการหลอหลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ( มาตรา 40 ) 
            2. ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารทางวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพ หรือทางหนังสือพิมพ์หรือหนังสือพิมพ์อื่นหรือด้วยวิธีอื่นเพื่อประโยชน์ในทางการค้า ต้องนำเสียง ภาพ ภาพยนตร์ หรือข้อความที่จะโฆษณาดังกล่าวนั้นให้ผู้อนุญาตตรวจพิจารณาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะโฆษณาได้ ( มาตรา 41 ) 
     3.เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ และความปลอดภัยของผู้บริโภค ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 
               3.1 ให้ผู้ผลิตนำเข้าหรือจำหน่ายอาหาร หรือผู้ทำการโฆษณาระงับการโฆษณาอาหารที่เห็นว่าเป็นการโฆษณาโดยฝ่าฝืนมาตรา 41 
          3.2 ให้ผู้ผลิตผู้นำเข้าหรือจำหน่ายอาหาร หรือผู้ท าการโฆษณาอาหาร ระงับการผลิตการนำเข้า การจำหน่าย หรือการโฆษณาอาหารที่คณะกรรมการเห็นว่าอาหารดังกล่าวไม่มีคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณตามที่โฆษณา ( มาตรา 42 ) 

ก. บทกำหนดโทษ หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องรับโทษ ดังนี้ 
1 ผู้ใดโฆษณาอาหารโดยฝ่าฝืนมาตรา 40 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ( มาตรา 70 ) 
2 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 41 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท ( มาตรา 71 ) 
3 ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อนุญาตซึ่งสั่งตามมาตรา 42 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสอง ปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่น้อยกว่าห้าร้อยบาทแต่ไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ( มาตรา 72 ) 

กฎหมายด้านการโฆษณาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท 

4.) พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ. 2518 

มาตรา 48 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเพื่อการค้า ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์เว้นแต่
(1)  การโฆษณาซึ่งกระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบอาชีพ เวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรม เภสัชกร หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง
(2)  เป็นฉลากหรือเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ที่ภาชนะ หริหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์ วัตถุออกฤทธิ์ หมายความว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ หมายความว่ากระดาษหรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ปรากฏความหมายด้วยรูป – รอย ประดิษฐ์ หรือข้อความใดๆ อันเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ ซึ่งสอดแทรกหรือรวบรวมไว้กับภาชนะ หรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์ ( มาตรา 4 )


กฎหมายด้านการโฆษณาวัตถุอันตราย 

 5.) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 


มาตรา 51 การควบคุมการโฆษณาวัตถุอันตราย ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง

ผู้บริโภค และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมโฆษณาให้ถือว่า วัตถุอันตรายที่มีการกำหนดฉลากตามมาตรา 

20 ( 1 ) เป็นสินค้าที่มีการควบคุมฉลาก โดยคณะกรรมการควบคุมฉลากตามกฎหมายดังกล่าวโดยอนุโลม 

วัตถุอันตราย หมายความว่า วัตถุดังต่อไปนี้ 

1 วัตถุระเบิดได้ 

2 วัตถุไวไฟ 

3 วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์ 

4 วัตถุมีพิษ 

5 วัตถุที่ทำให้เกิดโรค 
6 วัตถุกัมมันตรังสี 
7 วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม 
8 วัตถุกัดกร่อน 
9 วัตถุที่ก่อให้เกิดระคายเคือง
10 วัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใด ที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืชทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม ( มาตรา 4 ) 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น